แนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ 2. เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียน และ 3. เพื่อประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 86 คน และครู 291 คน รวมทั้งสิ้น 377 คน ได้มากจากการเปิดตารางเครจซี่ มอร์แกน (R.V. Krejcie & D.W. Morgan, 1986) และสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) จากขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาพหุกรณี (multi-case study) ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง และขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม (focus group discussion) จำนวน 9 คน เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและเกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ
ระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ มีสภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.81, S.D. = 2.31) สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.89, S.D. = 0.31) และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ ด้านการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านกระบวนการมีส่วนร่วม ด้านการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการขยะมูลฝอย ด้านผลสำเร็จของโรงเรียนปลอดขยะ และ ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน 2. แนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ มีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านนโยบายและแผนการดําเนินงาน ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงานมีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 10 วิธี 2. ด้านการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 5 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 11 วิธี 3. ด้านกระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 9 วิธี 4. ด้านการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 9 วิธี 5. ด้านการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 11 วิธี และ 6. ด้านผลสำเร็จของโรงเรียนปลอดขยะประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 12 วิธี 3. ผลการประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.54, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
คือ ด้านความเป็นประโยชน์ (x̅ = 4.68, S.D. = 0.48) รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสม (x̅ = 4.53, S.D. = 0.53) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความเป็นไปได้ (x̅ = 4.41, S.D. = 0.46)
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กษิรา กาเยาว์. (2550). การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนของกลุ่มไตรภาคีในชุมชนกะรนจังหวัดภูเก็ต. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). บทเรียนความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2550). คู่มือโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : กรม.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2544). แนวทางสร้างสรรค์ Eco School โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565, จากhttp://www.deqp.go.th/media/36848/ development-resize.pdf.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2544). สะพานสีเขียวสู่การปฏิบัติสิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
ก่อโชค นันทสมบูรณ์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการ สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธ์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิทธิสมบูรณ์ เจริญพาณิชย์พันธ์.(2555). กระบวนการจัดการขยะอินทรีย์ฐานศูนย์ในชุมชนเกตุไพเราะ 3-4-5. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุทธิพงศ์ นิพัทธนานนท์. (2556). แนวทางในการพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืนตามกรอบของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุทธิพงศ์ นิพัทธนานนท์ และมนัส สุวรรณ์. (2557). ปัจจัยสนับสนุนการเป็นโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตภาคเหนือตอนบน. Parichart Journal 26 (2), 95-111.
สุพรรณี อัครเดชเรืองศรี. (2559). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. ข้อมูลสาธารณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1. ค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก https://loei1.go.th/