วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj <p>วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ <strong>ISSN 2773-8949</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ในสาขาสังคมศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และพุทธศาตร์ ของนักศึกษาและนักวิชาการทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน</p> th-TH <p><em>บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ</em><br /><em>ของบรรณาธิการ</em></p> <p><em> บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น</em></p> chakgrit.po@hotmail.com (ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ โพดาพล) thanawat.ch@mbu.ac.th (ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์) Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0000 OJS 3.3.0.6 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 คำบาลีสันสกฤตในกวีนิพนธ์ไทยเรื่อง “ณ ฤดูหนาว” ของ สาคร ชิตังกรณ์ https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/232 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำบาลีสันสกฤตที่ปรากฏในกวีนิพนธ์เรื่อง “ณ ฤดูหนาว” ประพันธ์โดย สาคร ชิตังกรณ์ กวีนิพนธ์เรื่องนี้เป็นการรวมบทกวีที่จดจารจารึกไว้ในชีวิตทุก ๆ ฤดูกาลของผู้ประพันธ์ สุนทรียรสทางภาษาถ่ายทอดจินตนาการ ความคิด และความรู้สึกของผู้ประพันธ์มาสู้ผู้อ่านโดยแท้จริง สะท้อนให้เห็นความจริง ความงาม ความเศร้า และความสงบผ่านภาษาอันโดดเด่นอย่างมีวรรณศิลป์ เนื้อเรื่องประกอบด้วยภาคฤดูหนาว ภาคฤดูร้อน และภาคฤดูฝน จากการศึกษาพบว่ากวีนิพนธ์เรื่อง “ณ ฤดูหนาว” มีการใช้คำศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤต 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น สังสารวัฏ กิเลส ตัณหา บาป กรรม บุญ 2) คำศัพท์เกี่ยวกับช่วงเวลาและฤดูกาล เช่น ราตรี สนธยา อดีต ปัจจุบัน อนาคต 3) คำศัพท์เกี่ยวกับธรรมชาติแวดล้อม เช่น ธรณี ธารา หิมาลัย มหาสมุทร 4) คำศัพท์เกี่ยวกับคำกริยาทั่วไป เช่น โลภ โกรธ พินิจ อาพาธ ชรา มรณะ 5) คำศัพท์เกี่ยวกับนามธรรมทั่วไป เช่น ไมตรี สันนิวาส วิปโยค อุปาทาน ปรารถนา มหันต์ มหาศาล</p> กิตติยา คุณารักษ์, เพ็ญประภา เหล่าทะนนท์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/232 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0000 การบรรลุธรรมของพระนางมหาปชาโคตมีในโคตมีสูตรและวิมุตติสูตร https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/241 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้มุ่งศึกษาเรื่อง “การบรรลุธรรมของพระนางมหาปชาบดีโคตมี ในโคตมีสูตรและวิมุตติสูตร” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาประวัติก่อน และหลังอุปสมบทในทักขิณาภิวังคสูตร 2. เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ทำให้บรรลุธรรมในวิมุตติ สูตร 3. เพื่อศึกษาขั้นตอนเข้าสู่การบรรลุธรรมของพระนางปชาบดีที่ปรากฏในโคตรมีสูตร ระเบียบวิธีวิจัยที่เลือกใช้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้วิธีการวิเคราะหเชิง พรรณนา ผลการศึกษาพบวา การบรรลุธรรมของพระนางมหาปชาบดีโคตมีในโคตมีสูตร และวิมุตติสูตร” เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่อาศัยการทำสมาธิและการสังเกตเพื่อ บรรลุความสงบใจและสติปัญญา โคตมีสูตรเน้นการทบทวนคุณค่าและการเกิดครั้งที่สองคือเกิดทางธรรมเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญในการบรรลุธรรม วิมุตติสูตรเน้นการสังเกตและวิเคราะห์ความคิดและอารมณ์จิตใจเพื่อเข้าใจความจริงและบรรลุธรรม การบรรลุธรรมแบบนี้ช่วยให้ผู้ฝึกพัฒนาความสงบใจและความมั่นคงในสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย การทบทวนสิ่งที่เรียนรู้จากการทำสมาธิและการสังเกตช่วยให้บุคคลเข้าใจความจริงและเกิดความสงบใจ กระบวนการนี้เน้นการสังเกตความคิดและอารมณ์จิตใจเพื่อเข้าใจความจริง กระบวนการนี้เน้นการสังเกตความคิดและอารมณ์จิตใจเพื่อเข้า ใจความจริงและบรรลุธรรม การบรรลุธรรมของพระมหาปชาบดีโคตมีในโคตมีสูตรและวิมุตติสูตรเน้นความสงบใจและสติปัญญาที่เป็นผลมาจากการฝึกแบบธรรมชาติ โคตมีสูตรทำให้ผู้ฝึกมีความรู้สึกถึงความอดทนและการประจักษ์ และเมื่อผสมกับวิมุตติสูตรที่เน้นการสังเกตและวิเคราะห์ความคิดและอารมณ์จิตใจ ผู้ที่ฝึกธรรมจะเริ่มเข้าใจความจริงในระดับที่ลึกซึ้งและมีความสงบใจในชีวิตประจำวันของตนเองโคตมีสูตรและวิมุตติสูตรช่วยให้ผู้ฝึกพัฒนาความมั่นคงในสิ่งแวดล้อมและความสงบใจในชีวิต ผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางนี้มีโอกาสที่จะบรรลุธรรมแบบพระมหาปชาบดีโคตมีโดยเร็วขึ้น เนื่องจากการสาธิตความสงบใจและการเข้าใจความจริงในทุกวันช่วยให้พัฒนาธรรมชาติทางสภาวะแห่งพระธรรมในพุทธศาสนา</p> พระรุ่งโรจน์ รตนวณฺโณ Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/241 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0000 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/230 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2. เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้มีจำนวน 302 คน เป็นครูผู้สอน จำนวน 274 คน คิดเป็นร้อยละ 90.73 และเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 9.27 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความรู้และทักษะในการบริหาร ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านความเชี่ยวชาญการทํางาน ด้านการทํางานเป็นทีม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน และด้านภาวะผู้นำ 2. การพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านวิธูโร ด้านนิสสยสัมปันโน และด้านจักขุมา และ 3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูล จากการสัมภาษณ์ พบว่า ด้านจักขุมา ประกอบด้วย การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน นวัตกรรมและเทคโนโลยีใน และภาวะผู้นำ ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ วางแผน กำหนดแผนงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวคิดที่ยืดหยุ่นตามบริบทของงาน ด้าน วิธูโร ประกอบด้วย ความเชี่ยวชาญในการทำงาน และความรู้และทักษะในการบริหาร ผู้บริหารศึกษาหาความรู้ อบรมเพื่อเสริมทักษะในการบริหาร การวางแผน การตัดสินใจ และการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความรู้ทางวิชาการในการหาทางเลือกที่เหมาะสม ด้านนิสสยสัมปันโน ประกอบด้วย การทำงานเป็นทีม ผู้บริหารมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาความรู้ ความสามารถและความก้าวหน้าในวิชาชีพ</p> ภานุพงศ์ คําพิมพ์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/230 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0000 แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/233 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 2) ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษา และ 3)ประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 62 คน และครูหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ จำนวน 70 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie &amp; Morgan,1986) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษา มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การยกร่างแนวทาง และขั้นตอนที่ 3 การสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการบริหารโดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับของความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ โดยผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ &nbsp;= 3.95, S.D. = 0.77) สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ &nbsp;= 4.56, S.D. = 0.49) และค่าดัชนีลำดับของความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่1. ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (PNI<sub>modified</sub> = 0.16) 2. ด้านการออกแบบการเรียนรู้ (PNI<sub>modified</sub> = 0.15) และ 3. ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติ (PNI<sub>modified</sub> = 0.15) 2. แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 2) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 3) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ และ 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 3. ผลการประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ &nbsp;= 4.91, S.D. = 0.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านความเป็นไปได้ (x̅ &nbsp;= 4.97, S.D. = 0.05) ด้านความเป็นประโยชน์ (x̅ &nbsp;= 4.91, S.D. = 0.07) และด้านความเหมาะสม (x̅ &nbsp;= 4.87, S.D. = 0.26)</p> อัจจิมา วงศ์ชมภู Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/233 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0000 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/234 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารสถานศึกษา และการพัฒนาองค์กรนวัตกรรม จากสภาพปัญหาการบริหารจัดการด้านนวัตกรรมในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม เพื่อการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 2) ศึกษาแนวทาง และ 3) ประเมินแนวทาง วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 62 คน และครู จำนวน 206 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 268 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และมอร์แกน และใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทาง มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การร่างแนวทาง ระยะที่ 3 การประเมินแนวทาง โดยการประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (MACR) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅&nbsp;= 4.18, S.D. = 0.47) สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅&nbsp;= 4.60, S.D. = 0.31) และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ 1) ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม (PNI<sub> modified </sub>= 0.12) 2) ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม (PNI<sub>modified</sub> = 0.11) และ 3) ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์(PNI<sub>modified</sub> = 0.10) 2. แนวทางภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง 2) ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม 3) ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ 4) ด้านการบริหารความเสี่ยง และ5) ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม โดยทุกด้านมี 3 วิธีการดำเนินการ 3 ขั้นตอนการปฏิบัติ และ 3 ตัวชี้วัด 3. ผลการประเมินแนวทางภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน มีผลการประเมินโดยภาพรวมมีระดับความสำคัญ คือ สำคัญมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 92.38 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 95.18 รองลงมา คือ ด้านการบริหารความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 94.78 และด้านที่มีระดับความสำคัญน้อยที่สุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 91.88</p> สิทธิกร กุลชาติ Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/234 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0000 การบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/235 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 386 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 95 คน และครู จำนวน 291 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่ มอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (2) ศึกษาแนวทาง แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และขั้นตอนที่ 2 การประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (MACR: Multi Attribute Consensus Reaching) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน (3) ประเมินแนวทางการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในโรงเรียน โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมิน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅&nbsp;= 4.09, S.D. = 0.65) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̅&nbsp;= 4.86, S.D. = 0.29) และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ 1) ด้านค่านิยมการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยี มีค่า (PNI<sub>modified</sub> = 0.21) 2) ด้านแนวทางปฏิบัตินวัตกรรม มีค่า (PNI<sub>modified</sub> = 0.20) และ 3) ด้านบรรยากาศองค์กรดิจิทัล (PNI<sub>modified</sub> = 0.19) 2. แนวทางการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในโรงเรียน มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านค่านิยมการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยี 2) ด้านแนวทางปฏิบัตินวัตกรรม 3) ด้านบรรยากาศองค์กร 4) ด้านวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล และ 5) ด้านเครือข่ายดิจิทัล มี 15 วิธีดำเนินการ 15 วิธีปฏิบัติ และ 15 ตัวชี้วัดความสำเร็จ 3. ผลการประเมินแนวทางการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัล ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 ด้าน 15 วิธีดำเนินการ 15 วิธีปฏิบัติ และ 15 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่มีระดับความสำคัญจากคะแนนมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ 1) ผู้บริหารมีแนวทางการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการแก้ปัญหาในองค์กรด้วยโครงการต่าง ๆ 2) โรงเรียนมีการกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล และ 3) โรงเรียนสามารถดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้</p> ทนงศักดิ์ วงศ์ชมภู Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/235 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0000 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เลย หนองบัวลำภู https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/236 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเลยหนองบัวลำภู และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และเป็นครูผู้สอน จํานวน 329 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Krejcie and Morgan) และวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพที่พึ่งประสงค์ การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 1) สภาพปัจจุบัน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (x̅&nbsp;= 3.37, S.D. = 0.67) 2) สภาพที่พึ่งประสงค์ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅&nbsp;= 4.91, S.D. 0.33) และ 3) ความต้องการจำเป็น PNI<sub>modified</sub> ได้แก่ ลำดับที่ 1 องค์ประกอบด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีค่า (PNI<sub>modified</sub> = 0.52) อันดับที่ 2 องค์ประกอบด้านการ กระตุ้นทางปัญญา มีค่า (PNI<sub>modified</sub> = 0.46 ) ลำดับที่ 3 องค์ประกอบด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีค่า (PNI<sub>modified</sub> = 0.45) 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุค ประเทศไทย 4.0 มีองค์ประกอบ 5 ด้าน 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) การกระตุ้นทางปัญญา มี 3วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 4) ความคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคลมี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธี ปฏิบัติ และ 5) ผู้นำทางสื่อและเทคโนโลยีวิธีดำเนินการ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 3. การประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 1) ด้านความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 (x̅&nbsp;= 4.89, S.D. = 0.33) รองลงมาได้แก่ 2) ความเป็นประโยชน์ (x̅&nbsp;= 4.87, S.D. = 0.34) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ 3) ความเป็นไปได้ (x̅&nbsp;= 4.57, S.D. = 0.77)</p> <p>&nbsp;</p> ปริญญา วงษ์นอก Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/236 Sun, 31 Dec 2023 00:00:00 +0000