วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj
<p>วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ <strong>ISSN 2773-8949</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ในสาขาสังคมศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และพุทธศาตร์ ของนักศึกษาและนักวิชาการทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน</p>
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
th-TH
วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
2773-8949
<p><em>บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ</em><br /><em>ของบรรณาธิการ</em></p> <p><em> บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น</em></p>
-
การสอนสังคมกับแนวคิดไตรยางค์การศึกษา (OLE)
https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/252
<p> ปัจจุบันแนวโน้มการศึกษาทุกมุมโลกต่าง ๆ ต้องกลับมาทบทวนว่าการศึกษาที่แท้จริงควรเป็นอย่างไร เพราะหัวใจของการศึกษาคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติเพื่อที่จะกลับมาเป็นกําลังสําคัญในการช่วยเหลือพัฒนาประเทศชาติต่อไป หากจะมองในภาพกว้าง ๆ การศึกษานั้นควรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนานวัตกรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาตินั่นเอง เพราะเหตุนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งสําคัญต่อมนุษยชาติ มุมมองการศึกษาในยุคปัจจุบันนั้นมีการมุ่งเน้นให้มวลมนุษยชาติอันเป็นทรัพยากรของแต่ละประเทศนั้นได้มีหลักการและแนวคิดที่มีทักษะในการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต</p>
จงรักษ์ ภูพิษ
อภิพงศ์ ภูริวฑฺฒโน
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-04-30
2024-04-30
4 10
79
92
-
พุทธศาสนากับการพัฒนาจิต
https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/248
<p> สังคมในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้มนุษย์มีปัญหาเกิดขึ้นทางด้านจิตใจมากมาย เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกแปลกแยก ความว้าเหว่เดียวดาย ความรู้สึกว่างเปล่า ความกดดัน เป็นต้น ซึ่งในทางพุทธศาสนารวม เรียกว่า ทุกข์ การนำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาจิตถือเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากมีคุณค่าและส่งผลให้เป็นผู้ประเสริฐขึ้นในสังคมได้ การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาจิตใจมนุษย์ เรียกว่า จิตวิทยาแนวพุทธ เป็นแนวคิดที่วางรากฐานอยู่บนคำสอนของพุทธธรรม ได้แก่ อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท และไตรลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนาอื่น ๆ มาใช้ในการพัฒนาจิตด้วย ดังนี้ 1)หลักกรรมฐาน ประกอบด้วย การปฏิบัติสมถกรรมฐาน เป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตสงบเกิดสมาธิ และเกิดฌาน การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริงของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่หลงผิดยึดติดในกิเลสและความทุกข์ 2)หลักจิตตานุปัสสนา เป็นการกำหนดรู้จิตในจิตนั้นจะทำให้เกิดปัญญาและเป็นประโยชน์ในการอบรมสั่งสอนตนเองให้รู้ผิดชอบชั่วดี มีสติรู้เท่าทัน 3)หลักสติปัฏฐาน 4 เป็นการชำระใจให้บริสุทธิ์โดยการทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัญญาได้รับพัฒนา 4)หลักธรรมภาวนา 4 ประกอบด้วย กายภาวนา สีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา โดยหลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาจิตล้วนมุ่งหมายให้บุคคลเข้าใจถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติของสรรพสิ่งทำให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง ช่วยบรรเทาความทุกข์และยกระดับคุณภาพจิตใจของมนุษย์ได้</p>
จักรพล สิริธโร
ไพจิตร อุตฺตมธมฺโม
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-04-30
2024-04-30
4 10
93
102
-
พระวินัยกับคฤหัสถ์ : แนวปฏิบัติตามพระวินัยเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/249
<p><strong> </strong>พระพุทธเจ้าทรงมอบให้พุทธบริษัท 4 เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา พระภิกษุมีหน้าที่ในการสืบทอดพระพุทธศาสนาโดยตรง ส่วนอุบาสกอุบาสิกาผู้เป็นคฤหัสถ์มีหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาโดยอ้อม พุทธบริษัททั้ง 4 เหล่าต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย แล้วนำประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง พร้อมกับช่วยกันนำไปเผยแผ่และแก้ไขเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น การศึกษาพระวินัยมีความจำเป็นสำหรับคฤหัสถ์ที่ต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจและประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อป้องกันให้ปฏิบัติผิดจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ในบทความวิชาการนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระวินัยที่เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ที่ต้องปฏิบัติต่อพระภิกษุได้อย่างถูก ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมถึงความสำคัญของพระวินัย หน้าที่ของคฤหัสถ์กับพระศาสนา พระวินัยที่เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ ความไม่เข้าใจพระวินัยของชาวพุทธในปัจจุบัน และแนวทางป้องกันและการแก้ไขการปฏิบัติผิดพระวินัยที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการสร้างความศรัทธาเลื่อมใสใหเกิดขึ้นและการรักษาสืบทอดหลักคำสอนให้ยั่งยืนต่อไป</p>
วิเชียร ธมฺมวชิโร
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-04-30
2024-04-30
4 10
103
118
-
การบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/250
<p> ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนมีในระบบการศึกษาของไทยมานาน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในช่วงที่ผ่านมากระตุ้นให้เห็นความชัดเจนมากยิ่งขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ แนวทางการบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้จึงมีความสำคัญในการบริหารสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบย่อย วิธีการนำแนวทางไปใช้ประกอบด้วย 7 วิธีดำเนินการ 51 กิจกรรมวิธีปฏิบัติ และ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา อันดับที่สองด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และอันดับที่สามมีค่าเฉลี่ยเท่ากันสี่ด้าน คือด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนหน่วยกิต ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยี ด้านการบริหารจัดการในโรงเรียนเพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ผลการประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยพบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
สิริพรชัย บัวกองกุลรัตน์
ศักดินาภรณ์ นันที
สุชาติ บางวิเศษ
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-04-30
2024-04-30
4 10
1
12
-
แนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/251
<p><strong> </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ 2. เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียน และ 3. เพื่อประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 86 คน และครู 291 คน รวมทั้งสิ้น 377 คน ได้มากจากการเปิดตารางเครจซี่ มอร์แกน (R.V. Krejcie & D.W. Morgan, 1986) และสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) จากขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาพหุกรณี (multi-case study) ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง และขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม (focus group discussion) จำนวน 9 คน เป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและเกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ <br>ระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ มีสภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.81, S.D. = 2.31) สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.89, S.D. = 0.31) และความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ ด้านการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านกระบวนการมีส่วนร่วม ด้านการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการขยะมูลฝอย ด้านผลสำเร็จของโรงเรียนปลอดขยะ และ ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน 2. แนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ มีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านนโยบายและแผนการดําเนินงาน ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงานมีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 10 วิธี 2. ด้านการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 5 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 11 วิธี 3. ด้านกระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 9 วิธี 4. ด้านการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 9 วิธี 5. ด้านการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 11 วิธี และ 6. ด้านผลสำเร็จของโรงเรียนปลอดขยะประกอบด้วย 3 วิธีการดำเนินงาน มีกิจกรรมทั้งหมด 3 กิจกรรม และมีวิธีปฏิบัติทั้งหมด 12 วิธี 3. ผลการประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนปลอดขยะ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.54, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด <br>คือ ด้านความเป็นประโยชน์ (x̅ = 4.68, S.D. = 0.48) รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสม (x̅ = 4.53, S.D. = 0.53) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความเป็นไปได้ (x̅ = 4.41, S.D. = 0.46)</p>
เอกบุรุษ จำรูญศิริ
ศักดินาภรณ์ นันที
อรทัย จิตไธสง
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-04-30
2024-04-30
4 10
13
31
-
การประเมินผลโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/240
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอย แบบครบวงจร (รีไซเคิล) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลแบบครบวงจร (รีไซเคิล) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 136 คน ที่เป็นผู้เข้าร่วมโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) ขององค์การบริหารส่วน ตำบลพงศ์ประศาสน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของ ผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน ไม่มีความแตกต่างในผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน มีผลการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยแบบครบวงจรแตกต่างกัน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับ ผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) มีความสัมพันธ์เชิงบ วก ในระดับปานกลาง</p>
เกษมชาติ นเรศเสนีย์
ภาณุพงศ์ วิชชุตเวส
รัฐจักรพล สามทองก่ำ
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-04-30
2024-04-30
4 10
33
46
-
แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/253
<p> การบริหารงานวิชาการมีความสำคัญต่อการบริหารงานในสถานศึกษา ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ และ 3) ประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหาร งานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 329 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan และการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ ขั้นตอนที่1 การศึกษาพหุกรณี กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง และ ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 การประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือเป็นแบบประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการหาดัชนีของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.50, S.D. = 0.61) สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81, S.D. =0.30) และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น PNI <sub>Modified</sub> 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (PNI <sub>Modified</sub> = 0.424) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา (PNI <sub>Modified</sub> = 0.386) และ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI <sub>Modified</sub> = 0.384) ตามลำดับ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ มีองค์ประกอบ 5 ด้าน เรียงลำดับความสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินการ 7 เงื่อนไขความสำเร็จ 4 วิธีปฏิบัติ (2) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินการ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ 4 วิธีปฏิบัติ และ (3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินการ 7 เงื่อนไขความสำเร็จ 4 วิธีปฏิบัติ 3) ผลการประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ( = 5.00) ด้านการแนะแนวการศึกษา ( = 4.93) และด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ( = 4.90) ตามลำดับ</p>
พุทธมาตย์ ยาคง
ศักดินาภรณ์ นันที
สุชาติ บางวิเศษ
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-04-30
2024-04-30
4 10
47
61
-
การจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธ ตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย
https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/247
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 และ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ ใช้เทคนิคแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 1) การประเมินสภาพการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย จากบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย จำนวน 102 รูป/คน 2) การประเมินร่างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ จำนวน 5 ท่าน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมบูรณาการกับการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธ จำนวน 22 รูป/คน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 9 รูป/คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมิน <br>แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) สภาพการการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมาก และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า สภาพปัญหา/อุปสรรค คือ ขาดการเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับกิจการนักศึกษา แผนการวิจัยของมหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่สนับสนุนการวิจัยด้านท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนในการทำวิจัยจำนวนน้อย แผนงานบริการวิชาการไม่ครอบคลุมเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ โครงการส่วนมากเน้นไปทางประเพณีประจำท้องถิ่น ไม่มีแผนงานในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธที่ชัดเจน ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการ (2) รูปแบบการการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย ประกอบด้วยชื่อรูปแบบ คือ การบริหารงานบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมบูรณาการกับการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธ ประกอบด้วยระบบและกลไกการบริหาร กระบวนการ วัตถุประสงค์โครงการ การประเมิน โดยภาพรวมของรูปแบบมีความสอดคล้องกันอยู่ในระดับมาก (3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมบูรณาการกับการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมการ และและการวางแผน ได้โครงการ 2 โครงการ คือ 1) ประเพณีห่มผ้าเจดีย์ 2) การปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพระบางเมืองเลย และ (4) กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน สามารถเรียงลำดับจากสูงสุดไปหาต่ำสุดได้ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้าการจัดกิจกรรม ด้านผลลัพธ์โครงการ ด้านคุณภาพตามวัตถุประสงค์ ด้านบริบทของโครงการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม</p>
ยชุรเวท หงส์สิริ
จักรกฤษณ์ โพดาพล
สุพรรณี บุญหนัก
ทวีศักดิ์ ใครบุตร
ประสงค์ หัสรินทร์
พุทธิวัฒน์ ถาวรสินศักดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-04-30
2024-04-30
4 10
63
77