https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/issue/feed วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ 2024-09-23T03:41:55+00:00 ผศ.ดร. จักรกฤษณ์ โพดาพล chakgrit.po@hotmail.com Open Journal Systems <p>วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ <strong>ISSN 2773-8949</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ในสาขาสังคมศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และพุทธศาตร์ ของนักศึกษาและนักวิชาการทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน</p> https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/268 กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย 2024-09-18T08:40:22+00:00 ภูริวัจน์ ศรีแสงเมือง Bhuriwat2524@gmail.com ศักดินาภรณ์ นนที sakdina007LRU@gmail.com สุขุม พรมเมืองคุณ Bhuriwat2524@gmail.com <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย 2) ระดับของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย 3) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลยและ 4) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ในปีการศึกษา 2563 โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก <br>(x̅&nbsp;= 4.25, S.D.= 0.63) 2) การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅&nbsp;= 4.34, S.D. = 0.55) 3) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกและส่งผลกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทุกด้านอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารทั้ง 7 กลยุทธ์ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา</p> 2024-08-31T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/269 ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 2024-09-18T08:54:21+00:00 กรรณิการ์ อานทอง kannikaar65@nu.ac.th ภาสกร เรืองรอง kannikaar65@nu.ac.th ทัศนะ ศรีปัตตา kannikaar65@nu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ (1) ศึกษาทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา พบว่า (1) จากการศึกษาทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2&nbsp; ในภาพรวม พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความชัดเจนของข่าวสาร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และด้านเนื้อหาสาระ (2) จากการศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิจิตร เขต 2&nbsp; ในภาพรวม พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านเวลา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านปริมาณงาน (3) จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างของทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ในภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางบวกในลักษณะคล้อยตามกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-08-31T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/270 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2024-09-18T09:01:06+00:00 จุฬาลักษณ์ สุวรรณพานิช julaluk_suwanpanit@hotmail.com จุลดิศ คัญทัพ julaluk_suwanpanit@hotmail.com <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพเป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งแบ่งเป็น&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 262 คน จากประชากรทั้งสิ้น 763 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นตอนที่ 1 คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพเป็นจริงของภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความเข้าใจในทักษะความรู้ของคนในองค์กร ด้านความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้ ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกยุคดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ประกอบด้วย 5 ด้าน โดยจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นที่มีค่าดัชนีสูงสุด 3 อันดับของแต่ละด้าน รวมทั้งหมด 15 แนวทาง</p> 2024-08-31T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/271 กลยุทธ์การบริหารและการจัดการของโรงเรียนกวดวิชาในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน 2024-09-18T09:10:27+00:00 เหวินเจีย เผิง wenjie_Peng_Rangsit@hotmail.com จุลดิศ คัญทัพ wenjie_Peng_Rangsit@hotmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารและการจัดการของโรงเรียนกวดวิชาในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน และ 2) เสนอกลยุทธ์การบริหารและการจัดการของโรงเรียนกวดวิชาของเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาและผู้ปฏิบัติงานกวดวิชา 39 แห่งในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนกวดวิชาขนาดใหญ่ ได้จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ SWOT และการทำ TOWS Matrix</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารและการจัดการของโรงเรียนกวดวิชาในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยด้านการส่งเสริมการตลาดมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในลำดับสุดท้าย ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านบุคลากร มีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดมีค่าความต้องการจำเป็น 2) การเสนอกลยุทธ์การบริหารและการจัดการโรงเรียนกวดวิชาในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน พบว่า ผลิตภัณฑ์ควรมีหลักสูตรเนื้อหาที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ การตั้งราคาต้องเหมาะสมกับระดับการให้บริการ ห้องเรียนควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนและมีระบบ อินเทอร์เน็ต มีการสื่อสารกับผู้ปกครองและผู้เรียนเพื่อชักจูงให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการ และควรมีเจ้าหน้าที่ให้บริการให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แก่ผู้เรียน</p> 2024-08-31T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/272 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก 2024-09-18T09:20:17+00:00 ฉัตรปรียา แจ่มนาค chatpreeya_jamnak@outlook.com กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์ chatpreeya_jamnak@outlook.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรีนครนายก และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;วิธีวิจัยเป็นแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 300 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการกระตุ้นทางปัญญามีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก ที่ควรดำเนินการเป็นอันดับแรก คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างสมบูรณ์ ประเด็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับบุคลากร เพื่อบรรลุเป้าหมายการทำงาน และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก คือ ผู้บริหารควรกำหนดเป้าหมายการทำงานให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายการทำงาน</p> 2024-08-31T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/274 การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2024-09-18T09:28:01+00:00 รัชนีวรรณ น้อยตะพันธ์ ratchaneewan.n65@rsu.ac.th ชิดชไม วิสุตกุล ratchaneewan.n65@rsu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 13 คน รวมนักเรียนจำนวน 26 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำนวน 8&nbsp; แผน 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านจับใจความ จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย&nbsp; ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test for Independent Samples</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนในกลุ่มทดลองมีความสามารถในการอ่านจับใจความหลังเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนในกลุ่มทดลองมีความสามารถในการอ่านจับใจความสูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> 2024-08-31T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/275 การทดลองใช้กระเจี๊ยบแดงในการตรวจคุณภาพน้ำบาดาลในการเรียนรู้เคมีสภาวะแวดล้อม ในรายวิชาเคมีทั่วไป 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2024-09-23T03:41:55+00:00 ฐิตินันท์ ธรรมโสม Thitinan.tha@lru.ac.th นภัสสร วงเปรียว Thitinan.tha@lru.ac.th <p>การวิจัยเรื่อง การทดลองใช้กระเจี๊ยบแดงในการตรวจคุณภาพน้ำบาดาลในการเรียนรู้เคมีสภาวะแวดล้อม ในรายวิชาเคมีทั่วไป 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กระเจี๊ยบแดงในการตรวจคุณภาพน้ำบาดาล และปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้กระเจี๊ยบแดงในการตรวจคุณภาพน้ำบาดาลการตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณเฟอร์ริกไอออนในน้ำบาดาล เนื่องจากแอนโทรไซยานินมีความไวในการเปลี่ยนสีเมื่อทำปฏิกิริยากับไอออนเหล็ก นอกจากนี้ การประยุกต์ใช้สมาร์ทโฟนในการตรวจวัดสารเคมีต่าง ๆ เป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ด้วยความสามารถในการถ่ายภาพและประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว สมาร์ทโฟนสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์สีของสารละลายที่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณเฟอร์ริกไอออน ทำให้กระบวนการตรวจวัดง่ายขึ้นและสามารถทำได้ในสถานที่ต่าง ๆการศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาเคมีทั่วไป 2 จำนวน 30 คน ขั้นตอนการทดลองประกอบด้วยการเตรียมตัวอย่างน้ำบาดาลที่มีการเติมเฟอร์ริกไอออนในความเข้มข้นต่าง ๆ (0.5, 1.0, 2.0, 5.0 ppm) การสกัดแอนโทรไซยานินจากกระเจี๊ยบแดงโดยการต้มในน้ำร้อน การผสมสารสกัดแอนโทรไซยานินกับตัวอย่างน้ำบาดาล และการวัดผลโดยใช้สมาร์ทโฟนในการวัดค่าความเข้มสีของสารละลาย และใช้เครื่องยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ในการวัดการดูดกลืนแสงของสารละลาย นอกจากนี้ ยังมีการประเมินผลการเรียนโดยการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการทดลองเพื่อวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า การใช้แอนโทรไซยานินจากกระเจี๊ยบแดงร่วมกับสมาร์ทโฟนสามารถวัดค่าความเข้มสีที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของเฟอร์ริกไอออนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างค่าความเข้มสีและความเข้มข้นของเฟอร์ริกไอออน ผลลัพธ์จากสมาร์ทโฟนมีความสัมพันธ์สูงกับค่าการดูดกลืนแสงจากเครื่องยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถใช้งานได้จริงในสถานการณ์การสอน ในด้านผลการเรียนรู้ของนักศึกษา พบว่าคะแนนสอบหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย 25.60 คะแนน) มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย 5.23 คะแนน) แสดงให้เห็นว่าการทดลองนี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจและความสนใจในนักศึกษาต่อเนื้อหาเคมีที่เกี่ยวข้องกับการวัดและการวิเคราะห์สารเคมีในสิ่งแวดล้อมการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้แอนโทรไซยานินจากกระเจี๊ยบแดงและสมาร์ทโฟนในการตรวจวัดเฟอร์ริกไอออนในน้ำบาดาล ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด สะดวก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือวัดช่วยลดความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำในห้องปฏิบัติการ ทำให้การเรียนการสอนเคมีสภาวะแวดล้อมมีความเข้าถึงง่ายขึ้น นักเรียนสามารถทดลองและเห็นผลการวิเคราะห์ได้ทันที</p> 2024-08-31T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ