การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนอนุบาลเมืองเลย จังหวัดเลย
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแอพลิเคชันที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโรงเรียนอนุบาลเมืองเลย จังหวัดเลย และ (2) ศึกษาปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศโรงเรียนอนุบาลเมืองเลย จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนอนุบาลเมืองเลย จังหวัดเลย จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า (1) แอพลิเคชันที่ครูนิยมใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์มากที่สุด คือ แอพลิเคชันไลน์ (Line) คิดเป็นร้อยละ 67.23 และ Google Meet คิดเป็นร้อยละ 28.53 และอื่น ๆ 5.24 (2) ปัญหาที่ครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.27, S.D. = 0.51) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเรียงจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านเทคโนโลยี (x̄ = 4.45, S.D. = 0.47) ด้านสื่อการสอน (x̄ = 4.27, S.D. = 0.49) ด้านพฤติกรรมของนักเรียน (x̄ = 4.22, S.D. = 0.55) และด้านผู้สอน (x̄ = 4.15, S.D. = 0.59)
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563, 9 มิถุนายน). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. [ออนไลน์] https://slc.mbu.ac.th/article/28181/การจัดการเรียนรู้ออนไลน์/.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563, กรกฎาคม). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3), 1-17.
มนธิชา ทองหัตถา. (2564). สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี 5(1) (เดือนมกราคม - มิถุนายน 2564), หน้า 43 – 51.
วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
WHO. (2020). Archived: WHO Timeline - COVID-19. Retrieved January 17, 2021, from https://www.who.int/news-room/detail/27-04-2020-who-timeline--- covid-19.
Lassoued, Z., Alhendawi, M., & Bashitialshaaer, R. (2020, September). An Exploratory Study of the Obstacles for Achieving Quality in Distance Learning during the COVID-19 Pandemic. Education Sciences, 10(232), 1-13.