หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
บทความวิชาการเรื่อง “หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาสำหรับเป็นแนวทางในการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ โดยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ให้สถานศึกษาโดยตรง ซึ่งการกระจายอำนาจทำให้สถานศึกษามีความคล่องตัวมีอิสระ ในการบริหารจัดการส่งผลต่อการบริหารงานในทุก ๆ ฝ่ายงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานบุคคลมากขึ้นเพื่อให้สถานศึกษาเกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานจัดการศึกษาให้มากที่สุด ผลการศึกษาพบว่า หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานบุคคลในสถาบันการศึกษาผู้บริหารจะต้องบริหารงานบุคคลในโรงเรียนควบคู่กับหลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการนำไปปฏิบัติของหน่วยราชการ ไว้ 6 หลักการ คือ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ 6) หลักความคุ้มค่า เพื่อให้บุคลากรในโรงเรียนดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดเพื่อธำรงรักษาบุคลากรให้มีคุณภาพ ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องจัดสวัสดิการและให้รางวัลแก่เพื่อทำความดีความชอบและมีการมอบหมายงานให้กับบุคลากรให้ตรงตามความรู้ความสามารถ ส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ในการดำเนินงานจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูงสุด
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564. แหล่งสืบค้นhttp://www.thaischool.in.th/_files_school/84101969/data/84101969_1_20190814-221419.pdf.
จีรวัฏฐ์ บุญวัฒนาภรณ์. (2556). ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ชลลดา พึงรำพรรณ. (2554). ธรรมาภิบาลกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564. แหล่งสืบค้น https://www.gotoknow.org/posts/363128
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2545). ธรรมาภิบาลในโรงเรียนค์อิสระ. นนทบรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. . (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2560). หลักธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.