กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ภูริวัจน์ ศรีแสงเมือง
ศักดินาภรณ์ นันที
สุขุม พรมเมืองคุณ

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย 2) ระดับของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย 3) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลยและ 4) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ในปีการศึกษา 2563 โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


            ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(x̅ = 4.25, S.D.= 0.63) 2) การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.34, S.D. = 0.55) 3) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกและส่งผลกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาทุกด้านอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารทั้ง 7 กลยุทธ์ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
ศรีแสงเมือง ภ., นนที ศ., & พรมเมืองคุณ ส. (2024). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 4(11), 1-11. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/268
Section
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. (2561). (23 กุมภาพันธ์ 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 11ก : 3-5.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2558). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นระยะ 3 ปี (พ.ศ.2558-2560). กรุงเทพมหานคร: สำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วน ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

เกศรา สิทธิแก้ว. (2558). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปนิดา เนื่องพะนอม. (2560). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน.วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปวันรัตน์ โพธิ์จันทร์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พงษ์ศักดิ์ สุขพิทักษ์. (2555). กลยุทธ์การบริหารคุณภาพงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารการบริหารและพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(1), 173-190.

สุเทพ ไชยวุฒิ. (2560). การพัฒนาคู่การบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

เสาวภา นิสภโกมล. (2558). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาพลเมืองคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2561). รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สำนักทดสอบการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการประกันคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Dubrin .J.(1998) : Leadership research finding : Practice and skills. Boston Houghton : Mifflin Company.

Hoy, W. K. and Miskel, C. G. (2013). Educational Administration Theory Research Practice. (New York: McGraw Hill).

Joiner, B., & Josephs, S. (2007). Leadership Agility: Five levels of mastery for anticipating and initiating change. Reflections: The SoL Journal, 8(1), 44-51.

Mark, S. (2008). “A Best Practices For School,” Higher Education 12, 4: 130-145.

Scanland, C. L. (2006). Strategies to promote a climate of academic ingegrity and minizize student teaching and plagiarism. Journal of Allied Health, Vol.35 No.3, Pp : 179-185.

Skipper, S. (2006). Conceptual Framework for Effectible Inclusive Schools. Retrieved on 12 February 2020 from http://www.leadership.fau.edu