แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การบริหารงานวิชาการมีความสำคัญต่อการบริหารงานในสถานศึกษา ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ และ 3) ประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหาร งานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 329 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan และการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ ขั้นตอนที่1 การศึกษาพหุกรณี กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง และ ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 การประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือเป็นแบบประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการหาดัชนีของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.50, S.D. = 0.61) สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81, S.D. =0.30) และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น PNI Modified 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (PNI Modified = 0.424) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา (PNI Modified = 0.386) และ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNI Modified = 0.384) ตามลำดับ 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ มีองค์ประกอบ 5 ด้าน เรียงลำดับความสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินการ 7 เงื่อนไขความสำเร็จ 4 วิธีปฏิบัติ (2) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินการ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ 4 วิธีปฏิบัติ และ (3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 วิธีดำเนินการ 7 เงื่อนไขความสำเร็จ 4 วิธีปฏิบัติ 3) ผลการประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ( = 5.00) ด้านการแนะแนวการศึกษา ( = 4.93) และด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ( = 4.90) ตามลำดับ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
ชานนท์ คำปิวทา. (2565). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปณิตา บัวเจริญ และคณะ. (2561). การบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์.
ปภาวดี โพธิ์งาม. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครสวรรค์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์.
พระบุญลัท สุวรรณเดช. (2561). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารจัดการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสยาม.
มาลัย วงศ์ฤทัยวัฒนา. (2562). แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. ชัยนาท.
วราริณี มิ่งภู และคณะ. (2565). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครสวรรค์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วันวดี กู้เมือง. (2560). ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.gotoknow.org/posts/427621
วิไล ปรึกษากร. (2558). นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. (การ บริหารการศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิไลพร คงอินทร์ และคณะ. (2559). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครสวรรค์: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2560 ของสำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. (2563). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา. เลย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงาน เรียนออนไลน์ยุคโควิด-19: วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1779-file.pdf
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล School Management in Digital Era. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
World Economic Forum. (2020). 4 ways COVID-19 could change how we educate future generation. Retrieved February 10, 2022, from https://www.weforum.org/agenda/2020/03/4-ways-covid-19-educationfuture-generations/.