การบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สิริพรชัย บัวกองกุลรัตน์
ศักดินาภรณ์ นันที
สุชาติ บางวิเศษ

Abstract

            ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนมีในระบบการศึกษาของไทยมานาน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในช่วงที่ผ่านมากระตุ้นให้เห็นความชัดเจนมากยิ่งขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ แนวทางการบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้จึงมีความสำคัญในการบริหารสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบย่อย วิธีการนำแนวทางไปใช้ประกอบด้วย 7 วิธีดำเนินการ 51 กิจกรรมวิธีปฏิบัติ และ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา อันดับที่สองด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และอันดับที่สามมีค่าเฉลี่ยเท่ากันสี่ด้าน คือด้านการวัดผล ประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนหน่วยกิต ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยี ด้านการบริหารจัดการในโรงเรียนเพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ผลการประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยพบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
บัวกองกุลรัตน์ ส., นันที ศ., & บางวิเศษ ส. (2024). การบริหารงานวิชาการในภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 4(10), 1-12. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/250
Section
บทความวิจัย

References

ณัฐนันท์ เล็กมาก. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 10. Journal of Roi Kaensarn Academi.

นิลาวัลณ์ จันทะรังษี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครูยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นันทวัน พูลกำลัง. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2 ในยุคนิวนอร์มัล. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญญบุรี.

นิภาพร พินิจมนตรี. (2563) .ศึกษาการพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมสาหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID19 New Normal Based Design in Education: Impact of COVID-19. วารคุรุสภาวิทยาจารย์ JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT, 1(2), 1-10

ธนัฏฐา คุณสุข. (2560). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดจันทบุรี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี.

พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

เพ็ญพักตร์ มิ่งวงศ์ธรรม และคณะ (2561). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9(1).

บุญชม ศรีสะอาด.(2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ปิยพันธ์ ศิริรักษ์ (2563) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธบริหารการศึกษา).

ปริญญา อันภักดี. (2566). แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษายุค New Normalสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 20(38).

ภวนันท์ชัย สวัสดิ์สละ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลลิตวดี ระดาบุตร. (2565). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตสัตตบงกช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(38).

สุธิกานต์ บริเอก. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 จาก https://www.obec.go.th/about/นโยบายสพฐ-ปีงบประมาณมาณ-พ-ศ-2566.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : บี.เค.การพิมพ์จำกัด.

ศราวุธ ศรีสวัสดิ์ (2562) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยง ภู่วรรณ. (2563). โควิด-19 และระบาดวิทยา บทเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนและประชาชน. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 จากhttp://www.https://learningcovid.ku.ac.th/#c7

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกุล และคณะ. (2565). การศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 สภาพการณ์ บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Asian Development Bank. (2021). Learning and earning losses from COVID-19 school closures in developing Asia. Special Topic of the Asian Development Outlook 2021.

Cardinal, J. (2020). “Lost Learning”: What does the research really say?. Geneva, Switzerland: International Baccalaureate Organization.