ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สิทธิกร กุลชาติ

Abstract

            ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารสถานศึกษา และการพัฒนาองค์กรนวัตกรรม จากสภาพปัญหาการบริหารจัดการด้านนวัตกรรมในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม เพื่อการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 2) ศึกษาแนวทาง และ 3) ประเมินแนวทาง วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 62 คน และครู จำนวน 206 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 268 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และมอร์แกน และใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทาง มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การร่างแนวทาง ระยะที่ 3 การประเมินแนวทาง โดยการประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (MACR) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.18, S.D. = 0.47) สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.60, S.D. = 0.31) และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ 1) ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม (PNI modified = 0.12) 2) ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม (PNImodified = 0.11) และ 3) ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์(PNImodified = 0.10) 2. แนวทางภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง 2) ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม 3) ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ 4) ด้านการบริหารความเสี่ยง และ5) ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม โดยทุกด้านมี 3 วิธีการดำเนินการ 3 ขั้นตอนการปฏิบัติ และ 3 ตัวชี้วัด 3. ผลการประเมินแนวทางภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน มีผลการประเมินโดยภาพรวมมีระดับความสำคัญ คือ สำคัญมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 92.38 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 95.18 รองลงมา คือ ด้านการบริหารความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 94.78 และด้านที่มีระดับความสำคัญน้อยที่สุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 91.88

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
กุลชาติ ส. (2023). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(9), 27-41. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/234
Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2554-2556. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ขวัญชนก โตนาค. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เนาวรัตน์ เยาวนาถ. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2549). สถิติวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พีเอส พริ้นท์..

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์ ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญกุล และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พีรดล จัตุรัส. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วิทยานิพนธ์ กศม. (การบริหารการศึกษา). พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภิรญา สายศิริสุข. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. (2564). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. เลย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Guetchius, A. Innovative School Leaders Part 1: How to Become an Innovative School Leader. Online. Retrieved on December 25, 2016, Available: https://www.edelements.com/ blog/innovative-school-leaders-part-1-how-to-become-an-innovative-schoolleader.