แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

อัจจิมา วงศ์ชมภู

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 2) ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษา และ 3)ประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 62 คน และครูหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ จำนวน 70 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan,1986) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษา มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การยกร่างแนวทาง และขั้นตอนที่ 3 การสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการบริหารโดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับของความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ โดยผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅  = 3.95, S.D. = 0.77) สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅  = 4.56, S.D. = 0.49) และค่าดัชนีลำดับของความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่1. ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (PNImodified = 0.16) 2. ด้านการออกแบบการเรียนรู้ (PNImodified = 0.15) และ 3. ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและลงมือปฏิบัติ (PNImodified = 0.15) 2. แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 2) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 3) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ และ 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 3. ผลการประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅  = 4.91, S.D. = 0.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านความเป็นไปได้ (x̅  = 4.97, S.D. = 0.05) ด้านความเป็นประโยชน์ (x̅  = 4.91, S.D. = 0.07) และด้านความเหมาะสม (x̅  = 4.87, S.D. = 0.26)

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
วงศ์ชมภู อ. (2023). แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(9), 17-25. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/233
Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุรีวิทยาสาส์น.

มาลี โชติชัย. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนบ้านหนองเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3. สารนิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สรัลพร ถนัดรอบ. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เหมือนฝัน ยองเพชร. (2563). แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพะเยา. ปริญญา ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). นนทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1986). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.