การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2. เพื่อศึกษาการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2565 มีจำนวน 142 โรงเรียน จำนวน 142 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 รวมทั้งสิ้น 108 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครซี่และมอร์แกน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับสลาก และทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการ จำนวน 5 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.878 ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. สภาพการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบ 2. การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ การสร้างแรงจูงใจด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติตามหลักสมานัตตตา การสร้างแรงจูงใจด้านการยอมรับนับถือตามหลักปิยวาจา การสร้างแรงจูงใจด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักทาน การสร้างแรงจูงใจด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานตามหลักอัตถจริยา และการสร้างแรงจูงใจด้านความรับผิดชอบตามหลักทาน 3. แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 คือ สถานศึกษาควรประเมินประสิทธิภาพหรือสมรรถนะของครูก่อนมอบหมายงานให้ปฏิบัติ หลังจากนั้นนำผลของการประเมินมาวางแผนเพื่อมอบหมายงานให้ตรงตามความถนัดของครูด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย ควรมีการสร้างความสัมพันธ์ในการร่วมงาน ให้กำลังใจด้วยวาจาที่สุภาพเมื่อครูปฏิบัติงานสำเร็จ ผู้บริหารควรให้ความรู้ความเข้าใจ แนะนำ ส่งเสริม ให้ความช่วยเหลือ เพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานของบุคลากร ควรบริหารจัดการโรงเรียนโดยจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และสนับสนุนทรัพยากรเครื่องมือเครื่องใช้อย่างเพียงพอ ผู้บริหารควรให้โอกาสครูที่มีความสามารถ ความตั้งใจและทุ่มเทในการทำงานมีโอกาสได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น สถานศึกษาจะต้องมีความยุติธรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน เปิดโอกาสให้ครูได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารควรมอบอำนาจและการตัดสินใจให้ครูในการปฏิบัติงาน ตลอดจนควรมอบหมายงานพิเศษให้ครูทำอย่างทั่วถึงเพื่อให้ครูได้แสดงความสามารถได้อย่างเต็มที่
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กัญญนันทน์ ภัทร์สรสิริ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร: กรณีศึกษาสำหรับสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาศึกษาทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.
โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การอุดมศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พระนุชิต นาคเสโน และ พระครูปริยัติวรเมธี (ทิพย์มณี). (2565). การสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ. 5(1). มกราคม - มิถุนายน 2565. หน้า 81 - 82.
ระบบบริการข้อมูลภาครัฐ Big DATA. (2565, 26 สิงหาคม). สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565 แหล่งสืบค้น https://bigdata.loei1.go.th/
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (2565, 26 สิงหาคม). อัตลักษณ์องค์กร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565 แหล่งสืบค้น https://loei1.go.th/?page_id=88
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. เลย: กลุ่มงานนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.