พุทธศาสนากับการพัฒนาจิต

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

พระครูปลัดจักรพล สิริธโร
พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม

Abstract

            สังคมในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้มนุษย์มีปัญหาเกิดขึ้นทางด้านจิตใจมากมาย เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความรู้สึกแปลกแยก ความว้าเหว่เดียวดาย ความรู้สึกว่างเปล่า ความกดดัน เป็นต้น ซึ่งในทางพุทธศาสนารวม เรียกว่า ทุกข์ การนำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาจิตถือเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากมีคุณค่าและส่งผลให้เป็นผู้ประเสริฐขึ้นในสังคมได้ การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาจิตใจมนุษย์ เรียกว่า จิตวิทยาแนวพุทธ เป็นแนวคิดที่วางรากฐานอยู่บนคำสอนของพุทธธรรม ได้แก่ อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท และไตรลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนาอื่น ๆ มาใช้ในการพัฒนาจิตด้วย ดังนี้ 1)หลักกรรมฐาน ประกอบด้วย การปฏิบัติสมถกรรมฐาน เป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตสงบเกิดสมาธิ และเกิดฌาน การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริงของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่หลงผิดยึดติดในกิเลสและความทุกข์ 2)หลักจิตตานุปัสสนา เป็นการกำหนดรู้จิตในจิตนั้นจะทำให้เกิดปัญญาและเป็นประโยชน์ในการอบรมสั่งสอนตนเองให้รู้ผิดชอบชั่วดี มีสติรู้เท่าทัน 3)หลักสติปัฏฐาน 4 เป็นการชำระใจให้บริสุทธิ์โดยการทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัญญาได้รับพัฒนา 4)หลักธรรมภาวนา 4 ประกอบด้วย กายภาวนา สีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา โดยหลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาจิตล้วนมุ่งหมายให้บุคคลเข้าใจถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติของสรรพสิ่งทำให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง ช่วยบรรเทาความทุกข์และยกระดับคุณภาพจิตใจของมนุษย์ได้

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
สิริธโร จ., & อุตฺตมธมฺโม ไ. (2024). พุทธศาสนากับการพัฒนาจิต. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 4(10), 93-102. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/248
Section
บทความวิชาการ

References

กัลยา รักหลวง และคณะ. (2551). มนุษย์กับการดำเนินชีวิต. อยุธยา: เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง.

เจษฎา มูลยาพอ และคณะ. (2561). การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาในจังหวัดหนองคาย. สืบค้น 27 มีนาคม 2564. จาก http://198.7.63.81:8080/xmlui/bitstream/handle/123456789/515

a. /2561-025ผศ.ดร.เจษฎา%20มูลยาพอ.pdf?sequence=1&isAllowed=y

ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2552). จิตวิทยาแนวพุทธ: แนวทางเพื่อการเยียวยา และพัฒนาจิตใจมนุษย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 29 ฉบับที่ 4. 188 – 208.

ณัฐรินทร์ นิธีกีรติชานนท์. (2556). พระพุทธศาสนากับชีวิตวัยรุ่นไทยในโลกสมัยใหม่. Journal of Nakhonratchasima College. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2. 106 – 113.

ประกาศิต ประกอบผล. (2560). การพัฒนาคุณภาพจิตตามแนววิปัสสนากรรมฐาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3. 85 - 100.

ปัณณวิชญ์ พิบูลธนาภิรมย. (2561). อำนาจจิตกับความสำเร็จในชีวิต : พระพุทธศาสนากับจิตวิทยาสมัยใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 13 ฉบับที่ 26. 79 – 89.

พระครูใบฎีกาหัสดี กิตฺตินนฺโท. (2560). การพัฒนาจิตตามแนวพระพุทธศาสนา. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำปี 2560. 208 - 220.

พระครูสุตาภรณ์พิสุทธิ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2. 1 – 18.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาผล นาควโร. (2563). การพัฒนาจิตตามแนววิปัสสนากรรมฐานในสังคมยุค 4.0. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2. 162 – 175.

พนัทเทพ ณ นคร และพระมหาโสภณ วิจิตฺตธมฺโม. (2561). พุทธจิตวิทยากับการพัฒนาตนเองให้มีความเจริญงอกงาม. วารสารพุทธจิตวิทยา. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1. 31 - 45.

พระครูปลัดเถรานุวัตร (สุเทพ สุเทวฺเมธี). (2561). พระสงฆ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. ปีที่ 14 ฉบับที่ 3. 127 – 142.

สุทธญาณ์ โอบอ้อม และคณะ. (2563). การเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2. 65 – 77.