การจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธ ตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ยชุรเวท หงส์สิริ
จักรกฤษณ์ โพดาพล
สุพรรณี บุญหนัก
ทวีศักดิ์ ใครบุตร
ประสงค์ หัสรินทร์
พุทธิวัฒน์ ถาวรสินศักดิ์

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 และ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ ใช้เทคนิคแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 1) การประเมินสภาพการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย จากบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย จำนวน 102 รูป/คน 2) การประเมินร่างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ จำนวน 5 ท่าน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมบูรณาการกับการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธ จำนวน 22 รูป/คน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 9 รูป/คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมิน
แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม


ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) สภาพการการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมาก และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า สภาพปัญหา/อุปสรรค คือ ขาดการเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับกิจการนักศึกษา แผนการวิจัยของมหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่สนับสนุนการวิจัยด้านท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนในการทำวิจัยจำนวนน้อย แผนงานบริการวิชาการไม่ครอบคลุมเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ โครงการส่วนมากเน้นไปทางประเพณีประจำท้องถิ่น ไม่มีแผนงานในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธที่ชัดเจน ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการ (2) รูปแบบการการจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย ประกอบด้วยชื่อรูปแบบ คือ การบริหารงานบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมบูรณาการกับการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธ ประกอบด้วยระบบและกลไกการบริหาร กระบวนการ วัตถุประสงค์โครงการ การประเมิน โดยภาพรวมของรูปแบบมีความสอดคล้องกันอยู่ในระดับมาก (3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานบริการวิชาการแบบมีส่วนร่วมบูรณาการกับการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมการ และและการวางแผน ได้โครงการ 2 โครงการ คือ 1) ประเพณีห่มผ้าเจดีย์ 2) การปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณพระบางเมืองเลย และ (4) กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน สามารถเรียงลำดับจากสูงสุดไปหาต่ำสุดได้ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้าการจัดกิจกรรม ด้านผลลัพธ์โครงการ ด้านคุณภาพตามวัตถุประสงค์ ด้านบริบทของโครงการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการ  ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
หงส์สิริ ย., โพดาพล จ., บุญหนัก ส., ใครบุตร ท., หัสรินทร์ ป. ., & ถาวรสินศักดิ์ พ. (2024). การจัดการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงพุทธ ตามแนวคิดไทยแลนด์ 4.0 ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเลย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 4(10), 63-77. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/247
Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2559, 4 มีนาคม). การพัฒนาการใช้แหล่งเรียนรู้วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง จังหวัดเลย. การประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จังหวัดเลย.

จังหวัดเลย. (2563). แผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับทบทวน) จังหวัดเลย. เลย: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดเลย.

ทิพย์วรรณ วังตา. (2556). การศึกษาสภาพและแนวทางการบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนกับการวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคม ตามกรอบศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธรัช อารีราษฎร์ และวรปภา อารีราษฎร์. (2562). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สู่การจัดการศึกษา 4.0. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรชัย เจดามานและคณะ. (ม.ป.ป.) การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21. (อัดสำเนา).

วงศ์ระวิทย์ น้อมนาทรัพย์ และคณะ. (2559). แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดนครปฐม. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว. วิทยาลัยการจัดการ: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ศิวนิต อรรถวุฒิกุล และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๐).

สาคร พรหมโคตร และคณะ. (2561). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมภูเตาโปง บ้านบุ่งกุ่ม ตำบลนาหอ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. รายงานการวิจัย. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุพรรณี บุญหนัก, ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์, และจักรกฤษณ์ โพดาพล. (2564). การศึกษา 4.0: กระบวนทัศน์การศึกษามุ่งสู่อนาคตประเทศ. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง 1(1) เมษายน - มิถุนายน 2564. หน้า 41 – 54.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.