การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มคุณภาพการศึกษากกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ปรีติ พรมลารักษ์

Abstract

            การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มคุณภาพการศึกษากกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มคุณภาพการศึกษากกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มคุณภาพการศึกษากกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในกลุ่มคุณภาพการศึกษากกดู่-นาแขม จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มคุณภาพการศึกษา กกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 พบว่า การบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มคุณภาพการศึกษากกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มคุณภาพการศึกษากกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมรวม อยู่ในระดับมากที่สุด สามารถเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการบริหารตามหลักจิตตะ ด้านการบริหารตามหลักวิมังสา ด้านการบริหารตามหลักฉันทะ และด้านการบริหารตามหลักวิริยะ ตามลำดับ 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการ ตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มคุณภาพการศึกษา กกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 พบว่า แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มคุณภาพการศึกษา กกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ทั้ง 4 ด้าน มีดังนี้ 1) ด้านการบริหารงานตามหลักฉันทะ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจบัติงานด้านวิชาการ รู้จักวิเคราะห์ จัดทำหลักสูตรไปใช้ในการเรียนรู้และจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งผลสำเร็จเกิดขึ้นจริงกับผู้เรียน 2) ด้านการบริหารงานตามหลักวิริยะ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความตั้งมั่น ที่จะดำเนินงานวิชาการด้วยความเพียรพยายาม โดยเฉพาะ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา และการพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นจริงในห้องเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการวัดประเมินผล การเรียนรู้โดย เน้นการประเมินตามสภาพจริง 3) ด้านการบริหารงานตามหลักจิตตะ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีใจจดจ่อต่อการส่งเสริมครูให้ทุ่มเทและมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่หลักและหน้าที่เสริม ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และมุ่งพัฒนาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพตามหลักสูตรสถานศึกษา และส่งเสริมด้านการวางแผนงานวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตร และการจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดระบบติดตามสนับสนุน 4) ด้านการบริหารงานตามหลักวิมังสา ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรอบคอบ ไตร่ตรองการปฏิบัติงาน ในด้านของการพัฒนาหลักสูตร ของสถานศึกษา ว่ามีความสอดคล้องกับบริบท และความ สามารถของผู้เรียนหรือไม่ และทบทวนไตร่ตรองระบบกระบวนการจัดการเรียนรู้และการใช้สื่อและเทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์ และมีประชุมวางแผนเพื่อทบทวนการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนของครู และให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
พรมลารักษ์ ป. (2023). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มคุณภาพการศึกษากกดู่-นาแขม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(8), 77-90. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/218
Section
บทความวิจัย

References

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ

องค์การ อินทรัมพรรษ์. (2531). การบริหารงานวิชาการในการจัดการโรงเรียนประถมศึกษา. หน่วยที่ 7 – 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อําภา บุญช่วย. (2537). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน กรุงเทพมหานคร: โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์

ชุมศักดิ์ อินทรีรักษ์. (2546). การบริหารวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปัตตานี: ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาสำนักวิทยบริหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

ระบบบริการข้อมูลภาครัฐ Big DATA. (2565. 26 สิงหาคม). สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565 แหล่งสืบค้น https://bigdata.loei1.go.th/

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (2565. 26 สิงหาคม). อัตลักษณ์องค์กร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565 แหล่งสืบค้น https://loei1.go.th/?page_id=88

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. เลย: กลุ่มงานนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1.

ภาวิตา ฮั่นสกุล. (2561). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทางเป้าหมายกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ประภาพร แฝดสูงเนิน. (2561). ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

เพ็ญพักตร์ มิ่งวงศ์ธรรม. (2561). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ณรงค์ เบ็ญจศักดิ์. (2550). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครศรีธรรมราช: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

พระวัชรินทร์ ชินวโร (ยิ้มย่อง). (2556). บริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนสังกัด เทศบาลนครนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). อยุธยา:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สวนดี นานอน. (2554). การจัดการความรู้ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน 14 จังหวัดภาคใต้. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ชารี มาประจง. (2557). การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็ก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาราชภัฏบุรีรัมย์

พระสรรชัย ชยธมฺโม (นิลเจียรนัย). (2554). การบริหารงานวิชาการด้านการเรียนการสอนโรงเรียน ประถมศึกษาขนาดเล็ก อําเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). อยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.