ศีลในกูฏทันตะสูตรเพื่อชีวิตที่รุ่งโรจน์

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

พระรุ่งโรจน์ รตนวณฺโณ (ศรีเสริม)

Abstract

บทความวิจัยนี้ มุ่งที่จะศึกษาเรื่อง “ศีลในกูฏทันตะสูตร : ศีลเพื่อชีวิตที่รุ่งโรจน์” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาศีลที่ปรากฏอยู่ในกูฏทันตะสูตร 2. เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในกูฏทันตะสูตร ระเบียบวิธีวิจัยที่เลือกใช้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กูฏทันตะสูตร เป็นพระสูตรที่เน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนทัศนะของการบูชายัญแบบพราหมณ์มาเป็นแนวทางการปฏิบัติบูชาตามบุญกริยาวัตถุ 3 อันได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา และที่สำคัญยังระบุข้อมูลที่ปรากฏถึงความหลากหลายทางความคิดด้านศาสนาที่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะการกล่าวถึงศีลอันเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นของการเป็นสมณะที่ดีในยุคสมัยพุทธกาลที่มีการนำเอาศีลมาเป็นข้อโต้แย้งทางความคิดและการปฏิบัติซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่องศีลไว้ในพระสูตรนี้ในช่วงต้นของสมัยพุทธกาลกล่าวคือ จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ซึ่งเป็นศีลที่พระพุทธองค์ทรงยอมรับว่า มีความงดงามและสอดคล้องกับหลักมัชฌิมาปฏิปทา โดยทรงแสดงศีลที่เป็นข้อห้ามมากกว่าศีลที่เป็นข้ออนุญาตว่า พระพุทธองค์หรือภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจะทรงเลือกเอาศีลระดับใดมาประพฤตินั้น มีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้ (1) จุลศีล เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติหรือผู้ที่เพิ่งเข้าถือบวช (2) มัชฌิมศีล เป็นข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่ปฏิบัติและพัฒนาตนเองได้ระดับหนึ่งแล้ว (3) มหาศีล เป็นช้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่บรรลุธรรมฃั้นสูงหรือเพื่อถึงนิพพาน ดังนั้นกรอบแนวคิดเรื่องศีลที่ปรากฏในกูฏทันตะสูตรสูตรนี้แสดงแนวคิดเรื่องศีลเป็นเบื้องต้นของพระพุทธศาสนาก่อนที่จะมีการกำหนดเป็นศีลว่าด้วยปาณาติบาต อันเนื่องจากความประพฤติตามประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องการบูชายัญของนักบวชนอกศาสนา “การฆ่าสัตว์บูชายัญ” จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า แนวคิดเรื่อง ศีลในกูฏทันตะสูตรนั้นให้คุณค่าหลายประการ สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ที่สนใจเดินตามรอยพระพุทธองค์ได้เป็นอย่างดี

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
รตนวณฺโณ พ. (2023). ศีลในกูฏทันตะสูตรเพื่อชีวิตที่รุ่งโรจน์. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(8), 91-101. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/217
Section
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา. (2525 ก). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่มที่ 9 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 1 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

กรมการศาสนา. (2525 ข). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่มที่ 10 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 2 ทีฆนิกาย มหาวรรค. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

กรมการศาสนา. (2525 ค). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่มที่ 27 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 19 ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

พระพุทธโฆสาจารย์. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). การพัฒนาคนและพัฒนาบ้านเมืองในกูฏทันตสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 40. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์

อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2547). วิเคราะห์มหายัญในกูฏทันตสูตร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.