การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มคุณภาพเชียงคาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

เศรษฐศักดิ์ บับที

Abstract

            การวิจัยเรื่องนี้ มีการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2. ศึกษาการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา 3. เสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มคุณภาพเชียงคาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3. แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น มุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างขยันขันแข็ง มีสมาธิ มีจิตแน่วแน่ มีความรับผิดชอบ รู้รอบ บริหารงานที่เป็นระบบและถูกต้อง แบบอย่างที่ดีในเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต นำศีล 5 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ใช้วาจาสุภาพ สร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงาน และเคารพบุคลากรทุกคนอย่างเสมอกัน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
บับที เ. (2023). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มคุณภาพเชียงคาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(8), 47-59. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/215
Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ราชกิจจานุเบกษา 116 (สิงหาคม 2542).

ณัฐกฤตา กันทาใจ. (2565). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). พะเยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระมหาศรัณญู อุทยวโร (ปิ่นอำคา). (2560). ภาวะผู้นำตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภวัต นิตย์โชติ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะตามหลักพละ 4 ของบุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา. ดุษฎีนิพนธ์ พธ.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2564). DIGITAL TRANSFORMATION. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 แหล่งสืบค้น https://www.nbtc.go.th/getattachment/News/Information/28909/Di gitalTransformation.pdf.aspx

อัจฉรา จุ้ยเจริญ. (2558). คู่มือการโค้ช เพื่อผู้นำยุคใหม่. กรุงเทพฯ: แอคคอมแอนด์อิมเมจ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610