การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยครั้งนี้นี้มี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 2. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวนทั้งหมด 1,220 คน ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง เครซี่และมอร์แกน และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน ได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และทำการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการ จำนวน 5 รูป/คนเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาข้อสรุปสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก หากจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สามารถเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาค่าเฉลี่ยน้อยได้ ดังนี้ ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการออกจากราชการ และด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง 2. การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ด้านวินัยและการรักษาวินัย ด้านการออกจากราชการ และด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง 3. แนวการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 คือ การมีส่วนร่วมจากการประชุม และนำมาวางแผนเพื่อขออัตรากำลัง ตามความต้องการของสถานศึกษา เคารพมติที่ที่ประชุมที่เกิดจากความเห็นชอบ เคารพมติที่ประชุม และนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินการขออัตรากำลัง โดยปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จะต้องกำหนดเพศเพื่อวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง การวางแผนอัตรากำลังให้ส่งเสริมข้อดีของโรงเรียนเพื่อนำบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามา จากนั้นนำแผนอัตรากำลังเข้าในที่ประชุมของคณะกรรมการสถานศึกษา
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กลุ่มสารสนเทศ สนผ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 14 กรกฎาคม). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สพป.เลย เขต 1. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564 แหล่งสืบค้น https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=4202
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2564). ผู้บริหารกับพรหมวิหารธรรม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564 แหล่งสืบค้น https://slc.mbu.ac.th/article/17910/ผู้บริหารกับพรหมวิหารธe/
พระครูวิจิตรปทุมรัตน์. (2554). การบริหารงานบุคคลโรงเรียนประถมศึกษา เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระครูสังฆรักษ์วีระศักดิ์ จนฺทวํโส (รถจันทร์วงษ์). (2556). การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาประยูร ธีรวโร (ตระการ). (2556). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตบางกอกใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาประสงค์ กิตฺติญาโณ (พรมศรี). (2555). การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลในองค์กรสมัยใหม่กับแนวคิดทางพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาสุเทพ สุเทวเมธี. (2559). การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตาบล ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัญฑิต. พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระวิไลสอน อาจารสิริ. (2551). ศึกษาหลักพุทธรรมกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระอธิการปรีชา ติกฺขาโณ (มาทา). (2561). ประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. เลย: กลุ่มงานนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
สีวรรณ์ ไชยกุล. (2562). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 3. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่