การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

นุสนธ์ รักษาพล

Abstract

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย (2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในเขตชุมชนบ้านใหม่ 8 ชุมชน จำนวนทั้งหมด 20,117 คน ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) โดยใช้ตารางสำเร็จรูปคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง R.V.Krejcie และ D.W.Morgan และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 379 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยยึดตามอายุ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างได้ครอบคลุมประชากร หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling) ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 379 คน เป็นเพศหญิง จำนวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 55.67 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 30.34 มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 35.36 (2) การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และ (3) แนวทางการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย คือ ควรกำหนดกิจกรรมตามโครงการฯ เพิ่ม เพื่อสนับสนุนเป็นการรณรงค์การรักษาศีล 5 ผู้นำชุมชนต้องเป็นแบบอย่างในการรักษาศีล 5 ให้กับลูกบ้าน นำหลักธรรมทางพุทธศาสนา ด้านความเมตตา และการให้ทานเป็นค่านิยมของชุมชน และออกกฎระเบียบของชุมชน ในการส่งเสริมในการรักษาศีล 5 ตามลำดับ

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
รักษาพล น. (2022). การดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 2(4), 1-12. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/70
Section
บทความวิจัย

References

กัญมาส เงินชูกลิ่น. (2563). การศึกษาการรณรงค์ชุมชนรักศีล 5 ของตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขารัฐประศาสนศาสตร์). บันฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2560). หมู่บ้านรักษาศีล 5: รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้าง วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 6(2) (ฉบับพิเศษ) (เมษายน-มิถุนายน 2560), 435 – 448.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือการดำเนินงาน โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5 ”. นครปฐม: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.