ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สุพรรณี บุญหนัก

Abstract

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา   (2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวนทั้งหมด 1,353 คน ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) โดยใช้ตารางสำเร็จรูปคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง R.V.Krejcie และ D.W.Morgan  และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยยึดตามที่ตั้งโรงเรียน เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างได้ครอบคลุมประชากร หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling) ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ของอัลฟ่าตามวิธีครอนบาค (Cronbach’s Alpha coefficient) เท่ากับ .899 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson


            ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก (2) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ (3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
บุญหนัก ส. (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 . วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 2(4), 57-68. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/76
Section
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล และสุพรรณี บุญหนัก. (2563). สถิติเพื่อการวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวยก๊อปปี้ บ้านใหม่.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ชาญชัย นันทะผา และ พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 3(2) (พฤษภาคม – สิงหาคม 2561), หน้า 221 – 236.

นันท์นภัส ชัยสงคราม. (2560). การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปิยะวรรณ แวววรรณจิตต์ ชไมพร ดิสถาพร และจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ. วารสารบริหารการศึกษา มศว 15(29) (เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2561), หน้า 1 – 10.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. เลย: กลุ่มงานนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีศึกษา. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนกระบวชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC). (เอกสารอัดสำเนา).