การศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดเลย
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดเลย (2) เพื่อเปรียบเทียบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดเลย จำแนกตามตำแหน่ง และระดับการศึกษา ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 32 คน ครู จำนวน 292 คน รวมทั้งหมด 324 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดเลยโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ วิสัยทัศน์ร่วม
ทีมร่วมแรงร่วมใจ การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ โครงสร้างสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ ภาวะผู้นำาร่วม และด้านชุมชนกัลยาณมิตร ตามลำดับ (2) การเปรียบเทียบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดเลย จำแนกตามตำแหน่ง และระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กัลยาณี พันโบ และลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2564). แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 12(2) (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564), หน้า 111 – 127.
กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพบริบทคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารวิจัยรําไพพรรณี 12(1) (เดือนมกราคม - เมษายน 2561), หน้า 79 – 89.
วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
ว่าที่ร้อยตรี ดร.นิพนธ์ บรรพสาร. (2564). คู่มือ การขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC). กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.
วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่นจำกัด.