การดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุขในยุคดิจิทัล

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สาลีวรรณ จุติโชติ
ทิพมาศ เศวตวรโชติ

Abstract

            ในยุคดิจิทัล ปัจจุบันได้มีการติดต่อสื่อสาร ใช้งานอินเทอร์เน็ต สื่อออนไลน์ สื่อมัลติมีเดีย การติดต่อสื่อสารผ่านโซเซียลต่าง ๆ มากมาย ตลอดจนได้มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านเว็บไซต์กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งในเรื่องการทำงาน การทำธุรกิจ สื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ทั่วโลกได้มีการแพร่ระบาดของโควิด - 19 ทำให้ระบบต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป ในวงการศึกษาเองก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แตกต่างกันในรูปแบบของการถ่ายทอดการเรียนการสอนแบบสมัยก่อน ที่มีการเรียนการสอนกันในห้องเรียนได้เปลี่ยนไปเป็นการเรียนแบบออนไลน์ แม้กระทั่งรูปแบบการทำงานก็ต้องปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยต้องใช้วิธีทำงานในรูปแบบ Work from home ดังนั้นผู้คนก็หันมาใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเพื่อสืบค้นข้อมูลการเรียนและการทำงาน การพบปะพูดคุย การพบเจอกันเหมือนสมัยก่อนก็หันมาใช้การติดต่อสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้นตามไปด้วย วิถีทางแห่งการดำเนินชีวิตของคนยุคปัจจุบันก็เปลี่ยนไป คนเสพติดสื่อจนค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตนเองไม่เจอขาดการยั้งคิดและไม่มีความสุขในการดำรงชีวิต การเสพสื่อที่ดีและมีประโยชน์ในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องนำหลักธรรม คือหลักเศรษฐกิจแบบพอเพียง มาพิจารณาเป็นองค์ประกอบในการเลือกใช้ในการเสพสื่อที่เหมาะสม และสามารถดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัลได้อย่างมีความสุข การมีสุขภาพที่ดีในยุคของสังคมดิจิทัล เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาเนื่องจากปัจจุบันหลายคนใช้เวลาในการทำงานหรือใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานาน การใช้งานในยุคดิจิทัลนี้หากผู้ใช้ขาดคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งาน จะทำให้เกิดปัญหา แก่ตนเองสังคมและประเทศเทศชาติ

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
จุติโชติ ส., & เศวตวรโชติ ท. (2021). การดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความสุขในยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 1(3), 77-88. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/61
Section
บทความวิชาการ

References

คัคนางค์ มณีศรี และ วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์. (2563). สารคดีทางวิทยุรายการจิตวิทยาเพื่อคุณ. วิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564.

ณัชร สยามวาลา และวรประภา นาควัชระ. (2561). เศรษฐกิจดิจิทัลแบบพอเพียง.ยิ่งให้ยิ่งสุข ยิ่งให้ยิ่งสุข. สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2564. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.ออนไลน์. สืบค้นข้อมูล 10 มีนาคม 2564.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2563). ทักษะการทำงานในโลกยุคดิจิทัล. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 10(4)

เสาวลักษณ์ พันธบุตร. (2562). การศึกษาแนวคิดและรูปแบบในการสร้างสติกเกอร์คาแร็กเตอร์เพื่อใช้ในสื่อ สังคมออนไลน์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม.7(1) มกราคม - มิถุนายน 2562, หน้า 156 – 167.