การพัฒนาบุคลากรที่ว่าการอำเภอชุมแพภายใต้บริบทการบริหารประเทศไทย 4.0
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนาบุคลากรและแนวทางการพัฒนาบุคลากรโดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรที่ว่าการอำเภอชุมแพ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1) บุคลากรในที่ว่าการอำเภอชุมแพ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.5 มีอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 75.0 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 87.5 มีรายได้ในระดับ 10,001-15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 80.0 มีส่วนราชการที่สังกัดในกลุ่มงานบริหารงานปกครอง คิดเป็นร้อยละ 37.5
2) สภาพปัญหาในการพัฒนาบุคลากร คือ บุคลากรไม่สามารถสร้างนวัตกรรมหรือประยุกต์นวัตกรรมเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลาปรับตัวให้เป็นสำนักงานที่ทันสมัยมีขีดสมรรถนะสูง
3) ความต้องการพัฒนาของบุคลากร คือ บุคลากรมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel (ค่าเฉลี่ย= 4.10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.78) รองลงมาบุคลากรมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน (ค่าเฉลี่ย= 4.10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.84) และน้อยที่สุดมีกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหน่วยงาน (ค่าเฉลี่ย= 3.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.85)
4) แนวทางการพัฒนา คือ ควรมีการวิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนามุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์องค์การ การวิเคราะห์การปฏิบัติงาน และการวิเคราะห์ความต้องการของบุคลากรรายบุคคลโดยกำหนดเป้าหมายและเกณฑ์การพัฒนาบุคลากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
ชนินทร เพ็ญสูตร. (2560). ประเทศไทย 4.0 บริบททางเศรษฐกิจ และการเมือง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. 8 (1), 67-99.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2560). ระบบราชการ 4.0 กับการสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
รุ่งรัตน์ พลชัย. (2563). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน. 1 (3), 53-62.
สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม. (2562). แนวทางการพัฒนาบุคลากรและแผนพัฒนารายบุคคล. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 – 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
อารีย์พันธ์ เจริญสุข. (ม.ป.ป). ระบบราชการ 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.