การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 13 คน รวมนักเรียนจำนวน 26 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านจับใจความ จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test for Independent Samples
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนในกลุ่มทดลองมีความสามารถในการอ่านจับใจความหลังเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักเรียนในกลุ่มทดลองมีความสามารถในการอ่านจับใจความสูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับสาระท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การอ่านจับใจความสำคัญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์.
ณัฐนันท์ โม้พิมพ์ และอัฐพล อินต๊ะเสนา. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่มีต่อความสามารถ ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2555). เชาวน์ปัญญา. กรุงเทพฯ: ฟรีมายด์.
ธนรัตน์ พุ่มประกอบศรี. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค KWL ร่วมกับผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธนิตา เผ่าพงศ์ษา. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสามร้อยยอดวิทยาคม. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิภาพรรณ ทองสว่าง และอ้อมธจิต แป้นศรี. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค 9 คำถาม. Journal of Modern Learning Development, 7(7), 281-296.
ปทิตตา นครังสุ. (2561). การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนดอนฉิมพลีพิทยาคมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปพัชญา คำเกิ่ง. (2564). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบนิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พีรภาว์ ลบช้าง และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเกมการแข่งขันสะกดคำวิชาภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(85), 61-68.
วราภรณ์ แก้วสีขาว และนาตยา ปิลันธนานนท์. (2560). การพัฒนาทักษะการสอนสำหรับครูภาษาไทยโดยใช้วิธีการสแกฟโฟล์ดิง กรณีศึกษา:โรงเรียนวัดโบราณสถิตย์. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ, 7(14), 69-78.
วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). เมื่อการอ่านกลับมาเป็นการประเมินหลักใน PISA 2018. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2567. แหล่งสืบค้นhttps://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-44/
Carr, E., & Ogle, D. (1987). K-W-L Plus: A Strategies for Comprehension and Summarization. Journal of Reading, 30(April), 626-631.
Ogle, D. (1986). K-W-L A Teaching Model That Develops Active Reading of Expository Text. The Reading Teacher, 39, 564-570.