กลยุทธ์การบริหารและการจัดการของโรงเรียนกวดวิชาในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

เหวินเจีย เผิง
จุลดิศ คัญทัพ

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารและการจัดการของโรงเรียนกวดวิชาในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน และ 2) เสนอกลยุทธ์การบริหารและการจัดการของโรงเรียนกวดวิชาของเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาและผู้ปฏิบัติงานกวดวิชา 39 แห่งในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนกวดวิชาขนาดใหญ่ ได้จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ SWOT และการทำ TOWS Matrix


            ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารและการจัดการของโรงเรียนกวดวิชาในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยด้านการส่งเสริมการตลาดมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในลำดับสุดท้าย ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านบุคลากร มีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดมีค่าความต้องการจำเป็น 2) การเสนอกลยุทธ์การบริหารและการจัดการโรงเรียนกวดวิชาในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน พบว่า ผลิตภัณฑ์ควรมีหลักสูตรเนื้อหาที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ การตั้งราคาต้องเหมาะสมกับระดับการให้บริการ ห้องเรียนควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนผู้เรียนและมีระบบ อินเทอร์เน็ต มีการสื่อสารกับผู้ปกครองและผู้เรียนเพื่อชักจูงให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมการใช้บริการ และควรมีเจ้าหน้าที่ให้บริการให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แก่ผู้เรียน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
เผิง เ., & คัญทัพ จ. (2024). กลยุทธ์การบริหารและการจัดการของโรงเรียนกวดวิชาในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 4(11), 43-57. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/271
Section
บทความวิจัย

References

กรกฤช ศรีวิชัย และจรัญญา เทพพรบัญชากิจ. (2566). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9(3). (กันยายน-ธันวาคม). 15-28.

กิตติวรรณ จุฬานุตรกุล. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อคอร์สเรียนกวดวิชาของกลุ่มนิสิต-นักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการตลาด). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณธร บุญคล่อง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้บุตรศึกษาในโรงเรียนกวดวิชาภาษาตะวันออกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สารนิพนธ์เศรษศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดิเรก วรรณเศียร. (2567). MACRO model: รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งสืบค้น http://anyflip.com/iuaa/elyg/basic

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2563). SWOT Analysis and TOWS. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งสืบค้น www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538632242

นิติบดี ศุขเจริญ และวัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล. (2557). การวิเคราะห์อภิมานและการสังเคราะห์อภิมาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(3). (กันยายน-ธันวาคม). 43-56.

ประสูติ อุดมสุข. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการตลาด). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรางทิพย์ ตินนะศรี และธนกร สิริสุคันธา. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรียนโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(1). (มกราคม-มิถุนายน). 547-560.

วารุณี พูนพิพัฒน์กิจ และบัณฑิต ผังนิรันดร์. (2564). แบบจำลองความสำเร็จของโรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 16(2), (กรกฎาคม-ธันวาคม). 239-265.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kotler, P., & Keller, K.L. (2016). Marketing Management. (14th ed.). Shanghai: Shanghai People’s Publishing House.

Yamane, T. (1975). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.