ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กรรณิการ์ อานทอง
ภาสกร เรืองรอง
ทัศนะ ศรีปัตตา

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ (1) ศึกษาทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


            ผลการศึกษา พบว่า (1) จากการศึกษาทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2  ในภาพรวม พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความชัดเจนของข่าวสาร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และด้านเนื้อหาสาระ (2) จากการศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิจิตร เขต 2  ในภาพรวม พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านเวลา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านปริมาณงาน (3) จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างของทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ในภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางบวกในลักษณะคล้อยตามกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
อานทอง ก., เรืองรอง ภ., & ศรีปัตตา ท. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 4(11), 13-26. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/269
Section
บทความวิจัย

References

ฐิติกาญจน์ คงชัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บัญชา บุญบำรุง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10), กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

พรทิพย์ เพ็งกลัด. (2560). การสื่อสารของผู้บริหารกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยิ่งลักษณ์ ระรวยทรง. (2557). การสื่อสารของผู้บริหารกับประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

หทัยทิพย์ สิขัณฑกสมิต. (2554). การติดต่อสื่อสารของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.). (2553). การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553, (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์