แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) จำนวน 9 รูป ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 3 รูป/คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนักวิชาการการศึกษา จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 3 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (In – dept interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
- ด้านงานวิชาการ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา คือ (1) โรงเรียนขาดสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัย (2) ครูรับผิดชอบงานสอนมากเกินไป (3) ผู้เรียนไม่สนใจที่จะมาเรียน มีแนวทางแก้ไข ดังนี้ (1) ควรมีการทำข้อตกลงวิชาการกับสถาบันระดับอุดมศึกษาในการพัฒนากาเรียนการสอน (2) ควรจัดประชุมอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้กับครูและบุคลากรทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (3) จัดสรรงบประมาณสำหรับในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (4) ควรมีการออกแบบการเรียนการสอนที่น่าสนใจจากการใช้เทคโนโลยี
- ด้านงานงบประมาณ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา คือ งบประมาณไม่เพียงพอกับการบริหาร มีแนวทางแก้ไข ดังนี้ (1) ควรมีการระดมเงินเพิ่มเติมจากชุมชน (2) ควรมีการหาเจ้าภาพการให้ทุนการศึกษาตลอดการเล่าเรียน (3) ควรมีการระดมทุนเฉพาะเรื่อง เช่น การระดมทุนเพื่อปรับปรุงระบบเทคโนโลยีดิจิตัล เป็นต้น
- ด้านงานบุคคล ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา คือ (1) ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (2) ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีแนวทางแก้ไข ดังนี้ (1) ควรมีสวัสดิการแก่ครู บุคลากร และจัดค่าตอบแทนให้เหมาะสม (2) ควรมีงบประมาณพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน (3) ควรแยกเงินเดือนครู กับงบประมาณอื่นให้ชัดเจน
- ด้านงานบริหารทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา คือ (1) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีล้าสมัย (2) การมีส่วนร่วมของชุมชนมีน้อย (3) การบริหารงานขาดประสิทธิภาพ มีแนวทางแก้ไข ดังนี้ (1) ควรมีการจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อจัดคอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย (2) การเปิดตัวโรงเรียนให้เป็นที่รู้จักของชุมชน (3) ควรมีการพัฒนาผู้บริหารและกระบวนการบริหารทั้งในโรงเรียน และระหว่างโรงเรียนกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กฤษณะ เลิศวิชานันท์ และคณะ. (2553). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. ปทุมธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.
พระกฤษณะ อุ่นเรือน. (2558). แนวทางพัฒนาการบริหารงานโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมในเขตอำเภอคลอง ขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 455 – 464.
พรพรรณ อินทรประเสริฐ. (2550). องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิทย์ ฝ่ายสงค์ และ สิรินธร สินจินดาวงศ์. (2561). โรงเรียนพระปริยัติธรรม ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 1(1) (มกราคม-มิถุนายน). 80 – 92.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2550). แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: กองพุทธศาสนศึกษา ฝ่ายการศึกษาพระปริยัติธรรม.