การประเมินผลโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอย แบบครบวงจร (รีไซเคิล) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลแบบครบวงจร (รีไซเคิล) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 136 คน ที่เป็นผู้เข้าร่วมโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) ขององค์การบริหารส่วน ตำบลพงศ์ประศาสน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของ ผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน ไม่มีความแตกต่างในผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน มีผลการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยแบบครบวงจรแตกต่างกัน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการมีส่วนร่วมของประชาชนกับ ผลการจัดการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) มีความสัมพันธ์เชิงบ วก ในระดับปานกลาง
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศและปริมาณขยะมูลฝอยจำแนกตามจังหวัด. เข้าถึงได้จาก: https://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php?year=2565, 8 พฤษภาคม 2566.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565). ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เข้าถึงได้จาก: waste.dla.go.th/waste/wasteManagementOrg.do, 8 พฤษภาคม 2566.
สุเมธี จิตต์ประภัสสร. (2562). บทบาทของผู้นำชุมชนในการสร้างการมีส่วนร่วมในโครงการขยะเหลือศูนย์ กรณีศึกษา เทศบาลตำบลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรางคณา เมียร์ส. (2553). การประเมินผลโครงการคัดแยกขยะมูลฝอยแบบครบวงจร ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, จังหวัดลำปาง.
องค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2565). โครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล) ปีงบประมาณ 2566. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์: องค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์.
องค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2566). ทะเบียนสมาชิกโครงการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (รีไซเคิล). จังหวัดประจวบคีรีขันธ์: องค์การบริหารส่วนตำบลพงศ์ประศาสน์.
วัสสา คงนคร และคณะ. (2553). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรและการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. จังหวัดสุราษฎร์ธานี:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.