ปัจจัยที่ส่งผลความวิตกกังวลในการเรียนสาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์
ภัทรพล เสริมทรง
พระกัณฑ์ปกรณ์ กุสลจิตฺโต (แก้วสุวรรณ์)

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลความวิตกกังวลในการเรียนสาขาการปกครอง และ (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลความวิตกกังวลในการเรียนสาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จำแนกตาม เพศ และประเภทนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จำนวน 148 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ของอัลฟ่าตามวิธีครอนบาค (Cronbach’s Alpha coefficient) เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วย การทดสอบค่าที


            ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลความวิตกกังวลในการเรียนสาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลความวิตกกังวลในการเรียนสาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จำแนกตาม เพศ และประเภทนักศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน  

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
ชาวโพธิ์ ธ., เสริมทรง ภ., & กุสลจิตฺโต พ. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลความวิตกกังวลในการเรียนสาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(7), 73-82. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/229
Section
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล และสุพรรณี บุญหนัก. (2563). สถิติเพื่อการวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวยก๊อปปี้ บ้านใหม่.

จารุนันท์ ขวัญแน่น. (2559). ปัญหาการทำวิจัยและแนวทางการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3, 22 ธันวาคม 2559.

ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน และสายทิตย์ ยะฟู. (2565). ปัจจัยที่มีส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(5). กันยายน-ตุลาคม 2565, หน้า 289 – 302.

กนกวรรณ สาโรจน์. (2554). ความคิดเห็นของนิสิตวิชาเอกภาษาเกาหลีชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการศึกษารายวิชา 234121 การฟัง-พูดภาษาเกาหลี 1. รายงานการวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะครุศาสตร์. (2558). หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

วิทยาเขตศรีล้านช้าง, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2565). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2562 – 2565. เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สาขาวิชาการปกครอง, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. (2565). รายงานการประเมินตนเองหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาการปกครอง พ.ศ. 2564. เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. [ออนไลน์] https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link. php? Ni d=6422

Krejecie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.