การปฏิบัติหน้าที่อุบาสก-อุบาสิกาของชาวพุทธในชุมชนบ้านใหม่ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กันตพงษ์ จุลราช

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปฏิบัติหน้าที่อุบาสก-อุบาสิกาของชาวพุทธชุมชนบ้านใหม่ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย และ (2) เปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่อุบาสก-อุบาสิกาของชาวพุทธชุมชนบ้านใหม่ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อุบาสก-อุบาสิกาของชาวพุทธในชุมชนบ้านใหม่ ตำบลกุดป่อง


อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ของอัลฟ่าตามวิธีครอนบาค (Cronbach’s Alpha coefficient) เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วย การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ


            ผลการวิจัย พบว่า (1) การปฏิบัติหน้าที่อุบาสก-อุบาสิกาของชาวพุทธชุมชนบ้านใหม่ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (2) การเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่อุบาสก-อุบาสิกาของชาวพุทธชุมชนบ้านใหม่ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ และอายุ ไม่แตกต่างกัน สำหรับการเปรียบเทียบ โดย อาชีพ และระดับการศึกษา พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
จุลราช ก. (2023). การปฏิบัติหน้าที่อุบาสก-อุบาสิกาของชาวพุทธในชุมชนบ้านใหม่ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย . วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(7), 45-54. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/226
Section
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล และสุพรรณี บุญหนัก. (2563). สถิติเพื่อการวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวยก๊อปปี้ บ้านใหม่.

พระครูโกสุมวโรปการ (ทูล นาควโร). (2558). ศึกษาการนำหลักอุบาสกธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของสมาชิกชมรมอุบาสกอุบาสิกา อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระนรุณ ฐานวีโร (กุลผาย). (2555). ศึกษาบทบาทของอุบาสกและอุบาสิกาต่อพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระลอน เขมจิตฺโต. (2556). การนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้ในการดำเนินชีวิตของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหมจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเลิศพิพัฒน์ แก้ววันทอง. (2554). ผลลัพธ์ที่ได้จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานของอุบาสก อุบาสิกา ในชุมชนหนองบัว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระมหาธรรมรัต อริยธมฺโม. (2554). การนำคุณสมบัติของพุทธศาสนิกชนตามหลักอุบาสกธรรม 5 ประการไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักศึกษาวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

Krejecie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.