แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกาในวัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

พระวิสันต์ ปสนฺนจิตฺโต (ปานเพ็ชร)

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกาใน
วัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย และ (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกาใน
วัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อายุ และอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ของอุบาสกอุบาสิกาในวัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย จำนวนทั้งหมด 108คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ของอัลฟ่าตามวิธีครอนบาค (Cronbach’s Alpha coefficient) เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วย การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ


            ผลการวิจัย พบว่า (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกาในวัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกาในวัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย จำแนกตามเพศ อายุ และอาชีพ พบว่า แตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
ปานเพ็ชร พ. (2023). แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของอุบาสกอุบาสิกาในวัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย . วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(7), 35-44. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/225
Section
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล และสุพรรณี บุญหนัก. (2563). สถิติเพื่อการวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวยก๊อปปี้ บ้านใหม่.

ธวัลรัตน์ อ่อนราษฎร์. (2557). แรงจูงใจ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของนิสิตปริญญาโทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดสุรวุฒิ แสงมะโน และคณะ. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(1). มกราคม - มีนาคม 2562, หน้า 257 – 266.

พระปณิธิ ตันติธนาธร. (2561). แรงจูงใจของพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา วัดประดับ จังหวัดสิงห์บุรี. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 4(1). มกราคม - มิถุนายน 2561, หน้า 47 – 54.

พระพรสิทธิ์ เตชปญฺโญ (พรมพิมาย). (2558). ศึกษาวามเข้าใจเรื่องการเดินจงกรมในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของอุบาสกอุบาสิกา วัดหทัยนเรศวร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประสงค์ พรมศรี. (2563). การปฏิบัติธรรมของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, 1(2) พฤษภาคม – สิงหาคม 2563, หน้า 43 – 54.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

Krejecie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.