การศึกษาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

วัฒนกรณ์ บุญศร

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับภาวะผู้้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย จำนวนทั้งหมด 175 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ของอัลฟ่าตามวิธีครอนบาค (Cronbach’s Alpha coefficient) เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วย การทดสอบค่าที และค่าเอฟ


            ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบภาวะผู้้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย จำแนกตามตำแหน่ง กับประสบการณ์การทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญของสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ การเปรียบเทียบตามระดับการศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
บุญศร ว. (2023). การศึกษาภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(7), 11-22. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/223
Section
บทความวิจัย

References

กาญจนา ศิลา. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน (เครือข่ายที่ 19). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์: ผู้นำในยุค Disruptive. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(3). ตุลาคม – ธันวาคม 2564, หน้า 33 – 44.

ชุติมา สีรอด. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 9(3). กันยายน - ธันวาคม 2565, 105 – 120.

นัยนา ชนาฤทธิ์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประจวบ แจ้โพธิ์. (2557). ความคิดเห็นของครูต่อบทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานแป็นทีมของครูในโรงเรียน สำนักงานเขตบึงกุ่มสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(87). กรกฎาคม - กันยายน 2557. หน้า 268 – 287.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(4). ตุลาคม - ธันวาคม 2557, หน้า 42 – 50.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

วินา สุทธิโพธิ์ และจักรกฤษณ์ โพดาพล. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(2). กรกฎาคม-ธันวาคม 2561, หน้า 99 -114.

สุพล วังสินธุ์. (2545). การบริหารโรงเรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา. วารสารวิชาการ, 5(6). มิถุนายน 2545, หน้า 29 – 30.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2543). การบริหารเขตพื้นที่การศึกษา: เพื่อคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา..

Krejecie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Stanley, Williams W. (1964). Educational Administration in the Elementary School Task and Challenge. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Sternberg, R. J. (2006). The Nature of Creativity. Creativity Research Journal, 18, 87-98.