ภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

อภิวัฒน์ ชัยเสน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา วิทยฐานะ ขนาดของโรงเรียน และอำเภอกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ เป็นข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้ประมวลผลข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่การแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)การทดสอบค่าที(t-test)และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance)หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Multiple comparison) ด้วยวิธีของ Scheffeและวิธีการของ Fisher’s Least-Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ใน ระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 ข้าราชการครูที่มีเพศ ระดับการศึกษา วิทยฐานะ และจังหวัดต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนไม่แตกต่างกันข้าราชการครูที่ปฏิบัติ งานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดของโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปุริสธรรม ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
ชัยเสน อ. (2023). ภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(8), 61-76. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/216
Section
บทความวิจัย

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ : ความสำคัญต่อการพัฒนาคนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา

ณัชชา คุ้มเงิน. (2564). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชวภาพัณณ์ อนัญสถิตพัฒน์. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

พระปลัดอภิสิทธิ์ ธีรปญฺโญ (เล็กภิญโญ). (2561). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารจัดการคณะสงฆ์). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระราชวุธ ปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (พุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

จักรชัย แก้วพิภพ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุรสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระสุวรรณ สุวณฺโณ (วงศ์ดาลา). (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ในโรงเรียนมัธยมสงฆ์ นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (การบริหารจัดการคณะสงฆ์). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทายาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย