การจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล
2. ศึกษาการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3. ศึกษาแนวทางการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมนักเรียน 2. การจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสมานัตตตา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านทาน 3. แนวทางการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคดิจิทัลตามหลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ครูผู้สอน และนักเรียน มีส่วนร่วมในการวางแผนงาน แสดงความคิดเห็นในการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน สนับสนุนงบประมาณ และกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนอยู่เสมอ ควรกำหนดนโยบายให้บุคลากรใช้คำพูดที่ไพเราะ อ่อนหวาน ด้วยความจริงใจ สนับสนุนส่งเสริม ชื่นชมการปฏิบัติงานของบุคลากร ใช้คำพูดที่แสดงถึงความรัก ความสามัคคี และให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้บุคลากร นักเรียน และชุมชน พัฒนา ปรับปรุงและใช้สื่อเทคโนโลยีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างทั่วถึงโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จัดการสภาพแวดล้อมบริเวณสถานศึกษาอย่างเหมาะสม ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการใช้หลักคุณธรรม บริการข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
จักรพงษ์ ตระการไทย. (2564). การดำเนินการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล.
วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 21(1). มกราคม-มีนาคม 2564
จักรกฤต หาพา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่ม 4. Journal of Modern Learning Development. 6(1). มกราคม – กุมภาพันธ์ 2564.
ญาณิศา เยี่ยมสิริวุฒิ. (2564). การจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. สารนิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปฏิมากร ศิริเตชะ. (2549). ปัจจัยทางสังคม ลักษณะทางชีวสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่เอื้อต่อสังคมตามหลักธรรมสังคหวัตถุ 4. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศตวรรษ กฤษณา. (2564). การบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1(1), มกราคม – เมษายน 2564.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3).