การบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา แผนกสามัญศึกษา

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

พระมหากฤษดา สิริวฑฺฒโน

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา แผนกสามัญศึกษา และ (2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา แผนกสามัญศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา แผนกสามัญศึกษา จำนวน 22 รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คนเพื่อหาแนวทางพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


            ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียน
พระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา แผนกสามัญศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) แนวทางการการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา แผนกสามัญศึกษา
ควรส่งเสริมและสนับสนุนการใช้หลัก สาราณียธรรม 6 มาบูรณาการในหน่วยงานการศึกษาอย่างแท้จริง
มีมาตรการส่งเสริมการปลูกฝัง เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในสถานศึกษา ให้เกิดเป็นรูปธรรมและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สร้างความสามัคคีปรองดองกันขึ้นในสถานศึกษา เป็นตัวอย่างของบุคลากรในสถานศึกษา ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก ร่วมมือร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียว ร่วมแก้ไขปัญหาด้วยกัน และประสานงานให้เป็นระบบส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาทั้ง 4 ด้าน โดยการเสนอปัญหา ความต้องการของแต่ละด้าน แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
สิริวฑฺฒโน พ. (2022). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา แผนกสามัญศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 2(5), 25-32. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/140
Section
บทความวิจัย

References

กาญจนา พิมพ์สุข. (2556). การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระครูนนทวีรวัฒน์ วีรธมฺโม (มีนุสรณ์). (2553). การบริหารงานเทศบาลตำบลตามหลักสาราณียธรรม 6: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2526). ภาวะผู้นำ, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พิเชษฐ์ โพดาพล. (2564). การบริหารตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสัังคมศาสตร์์บููรณาการ. 1(1), หน้า 1 – 8.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2548). การแสวงหาและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารมืออาชีพกรณีผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

อัครพล นกทอง. (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 9(1), หน้า 1 – 12.