การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด - 19

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สุพรรณี บุญหนัก
ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง (2) ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด – 19 ในการวิจัยครั้งนี้ ประชากรในการวิจัย คือ อาจารย์ผู้บรรยายในภาคการศึกษา 1/2563 จำนวน 35 รูป/คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ตัวแทนคณะกรรมการวิทยาลัยศาสนศาสตร์ และคณะกรรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์วิทยาเขตศรีล้านช้าง จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือ การระดมสมอง (Brainstorming) ในการประชุมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 2 ครั้ง คือวันที่ 27 เมษายน 2563 และวันที่ 26 มิถุนายน 2563


            ผลการวิจัย พบว่า (1) การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด – 19 ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ มีประเด็นสำคัญดังนี้ 1) การเลือกแพลตฟอร์มการจัดการเรียนการสอน 2) การออกแบบบทเรียนออนไลน์
3) การจัดการห้องเรียนออนไลน์ 4) การใช้สื่อในการเรียนการสอนออนไลน์ และ 5) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (2) ปัญหาการและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด – 19
พบปัญหาและมีแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้ ปัญหาที่ 1. ทัศนคติของผู้สอน มีแนวทางแก้ไข ดังนี้ 1) จัดอบรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 2) ให้คณะกรรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้คำปรึกษาและคอยอำนวยความสะดวกในการเตรียมการเรียนการสอนของอาจารย์ ปัญหาที่ 2. ความชำนาญการในเทคโนโลยีมีแนวทางแก้ไข ดังนี้ 1) สอบถามความคิดเห็นถึงทักษะการใช้เทคโนโลยี 2) อบรมการใช้แพล็ตฟอร์มการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้อาจารย์ผู้บรรยาย 3) ให้คณะกรรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้คำปรึกษาและคอยอำนวยความสะดวกในการใช้งานแพล็ตฟอร์มการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ปัญหาที่ 3. การผลิตสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอน มีแนวทางแก้ไข 1) ให้ใช้สื่อ power point ในการบรรยายเป็นหลัก 2) ให้เลือกใช้สื่อในอินเตอร์เน็ต เช่น YouTube เป็นต้น 3) แต่งตั้งคณะกรรมการผลิตสื่อการเรียนการสอนเพื่อช่วยอาจารย์ผู้บรรยายผลิตสื่อ ปัญหาที่ 4. ความพร้อมของผู้เรียน มีแนวทางแก้ไข ดังนี้ 1) จัดอบรมการใช้แพล็ตฟอร์มการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 2) จัดเตรียมห้องเรียนไว้บริการสำหรับนักศึกษาที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน 3) จัดหาอินเตอร์เน็ตให้นักศึกษาได้สามารถเข้าเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
บุญหนัก ส., & ชาวโพธิ์ ธ. (2021). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ในสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด - 19. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 1(1), 58. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/14
Section
บทความวิจัย