ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้นำชุมชนกับความพึงพอใจในการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ของชุมชนตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้นำชุมชนตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ของชุมชนตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย (3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้นำชุมชนกับความพึงพอใจในการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ของชุมชนตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนของชุมชนตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวนทั้งหมด 20,117 คน ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) โดยใช้ตารางสำเร็จรูปคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง R.V.Krejcie และ D.W.Morgan และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 379 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling) ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson
ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชนตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ความพึงพอใจในการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ของชุมชนตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลยโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ (3) ภาวะผู้นำของผู้นำชุมชนกับความพึงพอใจในการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ของชุมชน ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลยมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กรมการปกครองท้องถิ่น. (2560). คู่มือมาตรฐานงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโน. (2561). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ, หน้า 527 – 538.
จักรกฤษณ์ โพดาพล และสุพรรณี บุญหนัก. (2563). สถิติเพื่อการวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวยก๊อปปี้ บ้านใหม่.
จิรวัฒน์ วรุณโรจน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10(4) (ตุลาคม - ธันวาคม 2559), หน้า 26 – 33.
วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
สรายุทธ์ หอมจันทร์. (2563). ภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการบริหารราชการส่วนท้องที่ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 7(1) (มกราคม –มิถุนายน 2563), หน้า 163 – 191.