ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องสติปัฏฐานกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่าง มีสติของผู้เรียนครูสมาธิหลักสูตรวิทันตสาสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 69 วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง จังหวัดเลย
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้เรื่องสติปัฏฐานของผู้เรียนครูสมาธิหลักสูตร วิทันตสาสมาธิ (2) เพื่อศึกษาระดับกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีสติของผู้เรียนครูสมาธิหลักสูตรวิทันตสาสมาธิ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องสติปัฏฐานกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีสติของผู้เรียนครูสมาธิหลักสูตรวิทันตสาสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 69 วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง จังหวัดเลย ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เรียนครูสมาธิหลักสูตรวิทันตสาสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 69 วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง จังหวัดเลย จำนวนทั้งหมด 122 รูป/คน ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) โดยใช้ตารางสำเร็จรูปคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง R.V.Krejcie และ D.W.Morgan และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 97 รูป/คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling) ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson
ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้เรื่องสติปัฏฐานของผู้เรียนครูสมาธิหลักสูตรวิทันตสาสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 69 วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง จังหวัดเลยโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) การใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีสติของผู้เรียนครูสมาธิหลักสูตรวิทันตสาสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 69 วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง จังหวัดเลยโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี และ (3) การรับรู้เรื่องสติปัฏฐานกับการการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีสติของผู้เรียนครูสมาธิหลักสูตรวิทันตสาสมาธิ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขาที่ 69 วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง จังหวัดเลยมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
จักรกฤษณ์ โพดาพล และสุพรรณี บุญหนัก. (2563). สถิติเพื่อการวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวยก๊อปปี้ บ้านใหม่.
พระเจริญ อคฺควิริโย (เกษม วิริยะเลิศ). (2555). ศึกษาการรับรู้เรื่องสติปัฏฐาน 4 ของอุบาสก-อุบาสิกา วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (วิปัสสนาภาวนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
วรรณพร ฮอฟมันน์. (2562). ศึกษาผลสัมฤทธิ์วิธีการสอนครูสมาธิ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของสถาบันพลังจิตตานุภาพวัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).