การเปรียบเทียบการรับรู้เรื่องสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กันตพงษ์ จุลราช

Abstract

            บทความวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบการรับรู้เรื่องสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลยเป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบระดับความเข้าใจในหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำแนกตามภูมิลำเนา และที่พักอาศัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลยที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาชีวิตและสังคม ภาคเรียนที่ 3/2562 (ภาคฤดูร้อน) จำนวน 45 คน สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (T – test)


            ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบระดับการรับรู้เรื่องสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำแนกตามภูมิลำเนา และที่อยู่อาศัยไม่พบความแตกต่างกัน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
จุลราช ก. (2021). การเปรียบเทียบการรับรู้เรื่องสติปัฏฐาน 4 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 1(2), 27-33. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/29
Section
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพครั้งที่ 3 กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน์.

พระเจริญ อคฺควิริโย (เกษมวิริยะเลิศ). (2555). ศึกษาการรับรู้เรื่องสติปัฏฐานของอุบาสก-อุบาสิกา วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

_________. (2547). สัมมาสมาธิและสมาธิแบบพุทธ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

_________. (2553). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

รุ้งสวรรค์ วรรณสุทธิ์. (2540). ลักษณะทางพุทธศาสนาและลักษณะทางจิตสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.