แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

จุฬาลักษณ์ สุวรรณพานิช
จุลดิศ คัญทัพ

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพเป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ และ                   ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา                สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งแบ่งเป็น             2 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 262 คน จากประชากรทั้งสิ้น 763 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นตอนที่ 1 คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน


            ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพเป็นจริงของภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความเข้าใจในทักษะความรู้ของคนในองค์กร ด้านความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้ ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบโลกยุคดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ประกอบด้วย 5 ด้าน โดยจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นที่มีค่าดัชนีสูงสุด 3 อันดับของแต่ละด้าน รวมทั้งหมด 15 แนวทาง

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
สุวรรณพานิช จ., & คัญทัพ จ. (2024). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 4(11), 27-41. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/270
Section
บทความวิจัย

References

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชีวิน อ่อนลออ, สุชาติ บางวิเศษ, กานนท์ แสนเภา และสวิตา อ่อนลออ. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับนักบริหารการศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 10(1), 108-119.

ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ, อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ และพงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 50-64.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภวัช เชาวน์เกษม, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และสุดารัตน์ สารสว่าง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการจัดการการศึกษาและนวัตกรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 3(3), 85-99.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Cronbach, L.J. (1970). Essentials of psychological test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Elliott, T. (2017). Digital Leadership: A Six-Step Framework For Transformation. Online. Retrieved on July 6, 2023, from http://www.digitalistmag.com/author/telliott

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.