แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เลย หนองบัวลำภู
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเลยหนองบัวลำภู และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา และเป็นครูผู้สอน จํานวน 329 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Krejcie and Morgan) และวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพที่พึ่งประสงค์ การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 1) สภาพปัจจุบัน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (x̅ = 3.37, S.D. = 0.67) 2) สภาพที่พึ่งประสงค์ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.91, S.D. 0.33) และ 3) ความต้องการจำเป็น PNImodified ได้แก่ ลำดับที่ 1 องค์ประกอบด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีค่า (PNImodified = 0.52) อันดับที่ 2 องค์ประกอบด้านการ กระตุ้นทางปัญญา มีค่า (PNImodified = 0.46 ) ลำดับที่ 3 องค์ประกอบด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีค่า (PNImodified = 0.45) 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุค ประเทศไทย 4.0 มีองค์ประกอบ 5 ด้าน 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) การกระตุ้นทางปัญญา มี 3วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 4) ความคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคลมี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธี ปฏิบัติ และ 5) ผู้นำทางสื่อและเทคโนโลยีวิธีดำเนินการ มี 3 วิธีดำเนินการ มี 3 กิจกรรม/โครงการ และมี 4 วิธีปฏิบัติ 3. การประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 1) ด้านความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 (x̅ = 4.89, S.D. = 0.33) รองลงมาได้แก่ 2) ความเป็นประโยชน์ (x̅ = 4.87, S.D. = 0.34) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ 3) ความเป็นไปได้ (x̅ = 4.57, S.D. = 0.77)
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา. (2559) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครูใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(2). 1510 – 1525.
จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุค ประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาคร
ทรรศน์. 6(10)
ชีวิน อ่อนละออ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์มนตรี จำกัด
พนัชกร พองาม. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหมอพัฒนานุกุล. วิทยานิพนธ์ กษ.ม. (การบริหารการศึกษา). นครปฐม: ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2550). ภาวะผู้นำและแนวทางเชิงปฏิบัติสำหรับผู้บริหารส่วนท้องถิ่นภายใต้บริบทแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น. 2(1). 121 – 148.
วันเพ็ญ โสมมา. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ศรีสะเกษ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2544). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้ กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพย์วิสุทธิ์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). ระบบราชการ 4.0. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2562 แหล่งสืบค้น https://www2.opdc.go.th/uploads/files/2560/ ThaiGov4.0_2.pdf.
สุปัญญดา สุนทรนนทย์ และคณะ. (2558). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คณะมนุษย์ศาตร์และสังคมศาสตร์. 9(2). 133-146.
สุภาวดี จิตติรัตนกุล. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ นายกเทศมนตรี กรณีศึกษา เทศบาลเมืองพังงา อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Lee J. Cronbach. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publisher.
Likert, R. (1962). New Pattern of Management. New York: Mcgraw-Hill.
Robert V. Krejcie and Daryle w. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal for Education and Psychological Measurement 3.