การบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ทนงศักดิ์ วงศ์ชมภู

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 386 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 95 คน และครู จำนวน 291 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่ มอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (2) ศึกษาแนวทาง แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และขั้นตอนที่ 2 การประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ (MACR: Multi Attribute Consensus Reaching) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน (3) ประเมินแนวทางการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในโรงเรียน โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมิน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.09, S.D. = 0.65) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̅ = 4.86, S.D. = 0.29) และค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกคือ 1) ด้านค่านิยมการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยี มีค่า (PNImodified = 0.21) 2) ด้านแนวทางปฏิบัตินวัตกรรม มีค่า (PNImodified = 0.20) และ 3) ด้านบรรยากาศองค์กรดิจิทัล (PNImodified = 0.19) 2. แนวทางการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในโรงเรียน มีองค์ประกอบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านค่านิยมการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยี 2) ด้านแนวทางปฏิบัตินวัตกรรม 3) ด้านบรรยากาศองค์กร 4) ด้านวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล และ 5) ด้านเครือข่ายดิจิทัล มี 15 วิธีดำเนินการ 15 วิธีปฏิบัติ และ 15 ตัวชี้วัดความสำเร็จ 3. ผลการประเมินแนวทางการบริหารวัฒนธรรมดิจิทัล ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 ด้าน 15 วิธีดำเนินการ 15 วิธีปฏิบัติ และ 15 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่มีระดับความสำคัญจากคะแนนมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ 1) ผู้บริหารมีแนวทางการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการแก้ปัญหาในองค์กรด้วยโครงการต่าง ๆ 2) โรงเรียนมีการกำหนดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล และ 3) โรงเรียนสามารถดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
วงศ์ชมภู ท. (2023). การบริหารวัฒนธรรมดิจิทัลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(9), 43-55. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/235
Section
บทความวิจัย

References

โชติกา โพธ์ศรี. (2562). วัฒนธรรมองค์กรยุคดิจิทัล: นิตยสาร CAT MAGAZINE. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2563, จาก http://catmag.cattelecom.com/cover53/mobile/index.html

นิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ. (2561). คุณค่าของการสร้าง Digital Culture. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก https://www.samongthailand.com/digital-leadership/

บวร ปภัสราทร. (2561). ผู้นําแบบดิจิทัล. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645877

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2558, 3 พฤศจิกายน). การจัดการเรียนการสอนในยุคโลกดิจิทัล. เดลินิวส์.หน้า 2.

วิไลวรรณ เรืองอุไร. (2556). แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สำหรับสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สู่ประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์ และนิสรา ใจซื่อ. (2562). การขับเคลื่อนองค์การดิจิทัลเพื่อก้าวสู่การพัฒนาประเทศไทย 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(3), 78-91.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สืบค้นเมื่อ 5 ก.ค. 2565 จาก https://www.loei2.go.th/wp/plan-2565/

อุษา ขวัญเนตร. (2551). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนในอำเภอแกลง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2563, จาก https:// www.pracharathschool.go.th/skill/detail/52232

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.

McKinsey, Q. (2017). Culture for a digital age. Retrieved September 7, 2020, from https://www.mckinsey.com/business-functions/mckinsey-digital/our-insights/culture-for-adigital-age

Swan, W. L., Langford, N., Watspn, I., & Varey, J. R. (2000). Viewing the corporate community as a knowledge network. Corporate Communication: An International Journal, 5(2), 59-75.

Wutthirong, N.D. (2007). The 7th International Conference on Diversity in Organizations, Communities and Nations. Amsterdam: [n.p.].