แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ภานุพงศ์ คําพิมพ์

Abstract

            การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2. เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้มีจำนวน 302 คน เป็นครูผู้สอน จำนวน 274 คน คิดเป็นร้อยละ 90.73 และเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 9.27 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความรู้และทักษะในการบริหาร ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านความเชี่ยวชาญการทํางาน ด้านการทํางานเป็นทีม ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน และด้านภาวะผู้นำ 2. การพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านวิธูโร ด้านนิสสยสัมปันโน และด้านจักขุมา และ 3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูล จากการสัมภาษณ์ พบว่า ด้านจักขุมา ประกอบด้วย การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน นวัตกรรมและเทคโนโลยีใน และภาวะผู้นำ ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ วางแผน กำหนดแผนงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวคิดที่ยืดหยุ่นตามบริบทของงาน ด้าน วิธูโร ประกอบด้วย ความเชี่ยวชาญในการทำงาน และความรู้และทักษะในการบริหาร ผู้บริหารศึกษาหาความรู้ อบรมเพื่อเสริมทักษะในการบริหาร การวางแผน การตัดสินใจ และการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความรู้ทางวิชาการในการหาทางเลือกที่เหมาะสม ด้านนิสสยสัมปันโน ประกอบด้วย การทำงานเป็นทีม ผู้บริหารมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาความรู้ ความสามารถและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
คําพิมพ์ ภ. (2023). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักในยุคดิจิทัลตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(9), 1-15. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/230
Section
บทความวิจัย

References

ชนินทร์ ศรีส่อง และนิชยากานต์ เรืองสุวรรณ. (2564). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. การประชุมเชิงวารสารบัณฑิตศึกษา. 18(80). มกราคม-มีนาคม 2564. หน้า 56 – 57

เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

พรพิมล แก้วอ่อน. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในการรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนฟ้าอุดมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (พุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2564). รายงานการประเมินตนเอง พ.ศ. 2564. เลย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560, 2 กุมภาพันธ์). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565 แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (SCHOOL MANAGEMENT IN DIGITAL ERA). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นการศึกษา ประถมศึกษาสงขลา เขต 3. สารนิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

Cronbach, Lee J. (1971). Essentials of psychological testing. 4th ed. New York: Harper & Row 1971), p. 67,

Likert, R.A. (1961, May). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140), 1 – 55.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.