สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะของผู้้บริหารสถานศึกษา (2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน และ (4) ศึกษาสมรรถนะของผู้้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ของอัลฟ่าตามวิธีครอนบาค (Cronbach’s Alpha coefficient) เท่ากับ .82 โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า (1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่่ในระดับมากที่สุด (2) ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของโรงเรียนมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ที่เป็นตัวทำนายประสิทธิผลของโรงเรียน มี 3 ด้านคือ ด้านการพัฒนาทีมงาน (X5) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (X1) และด้านการบริการที่ดี (X3) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.801 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยที่เป็นบวกทุกค่า มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 64.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
เกรียงไกร แสนสุข ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม และดร.ชรินดา พิมพบุตร. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(39).เมษายน - มิถุนายน 2565, หน้า 284 – 293.
จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรภา.
จิราพร หมวดเพชร, รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ และรุจิราพรรณ คงช่วย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่ วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. 26 มิถุนายน 2558, หน้า 75-86). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จีรนันท์ ม่วงพิณ. (2557). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.
บรรลุ ชินน้ำพอง และวัลลภา อารีรัตน์. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7 (1). มกราคม – มีนาคม 2556, หน้า 92 – 103.
เบญจพร วาทีกานท์. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
วีระเชษฐ์ ฮาดวิเศษ. (2551). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมเกียรติ ศรลัมภ์. (2547). การปฏิรูประบบราชการไทย. กรุงเทพมหานคร: ประดิพันธ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552 ). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปี ของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542 - 2551). กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิว นิเคชั่น.
อัจฉรา พยัคฆ์เกษม. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอคลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Krejecie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.