การเลือกตั้งประธานและคณะกรรมการนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ในปีการศึกษา 2565
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาการเลือกตั้งประธานและคณะกรรมการนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง (2) เพื่อเสนอแนะการเลือกตั้งประธานและคณะกรรมการนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ภาคปกติ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 175 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับที่ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) การเลือกตั้งประธานนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง อยู่ในระดับมาก (2) ข้อเสนอแนะการเลือกตั้งประธานนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง คือ คือ ควรมีการกำหนดระยะเวลาในการหาเสียงมากขึ้น ควรมีการลงคะแนนที่หลากหลายช่องทาง ควรมีการประชาสัมพันธ์การรับสมัครตั้งแต่เปิดภาคการศึกษา ควรมีการกำหนดระยะเวลารับสมัครที่ชัดเจน และอื่น ๆ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554.
จักรกฤษณ์ โพดาพล และสุพรรณี บุญหนัก. (2563). สถิตเพื่อการวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวยก๊อปปี้บ้านใหม่.
ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.
นภาพร หมื่นจง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตัง้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง: ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2559. สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง). วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.
เฮเลน่า แคตต์ และคณะ. (2014). การออกแบบการจัดการการเลือกตั้ง (ฉบับปรับปรุง). ชุดหนังสือคู่มือของ International IDEA. นครปฐม: สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.