การเปรียบเทียบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

พระนวพัสตร์ ยโสธโร (พรหมราช)
สุพรรณี บุญหนัก

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน และ (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 108 คน เครื่องมือทีใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวน


            ผลการวิจัย พบว่า (1) การเปรียบเทียบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีการบริหารตามหลักไตรสิกขาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) การเปรียบเทียบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีการบริหารตามหลักไตรสิกขาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

How to Cite
ยโสธโร พ., & บุญหนัก ส. (2022). การเปรียบเทียบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 2(5), 43-52. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/143
Section
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). สถิติเพื่อการวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวย ก๊อปปี้บ้านใหม่.

พระณรงค์ วุฑฺฒิเมธี (สังขวิจิตร). (2557). การบริหารจัดการตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของ บริษัท เอ็นอีซี อินฟอนเทียร์ (ไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พุทธวิธีการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เบิกม่าน.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พระราชวุธ ปญฺญาวชิโร (เพชรไพร). (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการสกายแลบ ธมฺมธโร (นามโท). (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชราภรณ คงเกิด. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. การคนควาอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2561 แหล่งสืบค้น https://www.trueplookpanya.com/education/content/52232.