สมาธิ: กับการแก้วิกฤตพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน

Authors

  • สิริธนา บริบูรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

Keywords:

สมาธิ, วิกฤต, พฤติกรรม

Abstract

                    การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาคนให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม แต่ปัจจุบันพบว่านักเรียนโดยเฉพาะระดับมัธยมมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่สนใจเรียน ขาดความรับผิดชอบในการเรียน
ไม่ทำงานที่มอบหมายให้ ใช้เครื่องมือสื่อสารในแบบผิด ๆ ทะเลาะวิวาท การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จและการเสพสิ่งเสพติด ก่อให้เกิดความเสียหายทุกด้านโดยเฉพาะด้านสังคมและเศรษฐกิจ อันเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนโดยใช้หลักสมาธิเป็นวิธีหนึ่งที่ควรนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน หลักของสมาธิมีกล่าวทุกศาสนาและลัทธิความเชื่อ วิธีการฝึกสมาธิก็เป็นไปตามแนวคิดของแต่ละศาสนาหรือลัทธินั้น ๆ ในส่วนของศาสนาพุทธก็มีหลายวิธีตามจริตของแต่คน ส่วนการนำสมาธิมาแก้ไขวิกฤตพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เช่น สมาธิบำบัดจะช่วยบำบัดความเครียดได้ผลดี มีผลต่อร่างกาย อารมณ์และจิตใจของมนุษย์ ทำสมาธิแล้วจะสามารถช่วยให้อารมณ์ดี สงบเย็น ผ่อนคลาย สภาพจิตดี ความคิดรู้ผิดชอบชั่วดีเกิดขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการลดพฤติกรรม การเรียนรู้โดยใช้สมาธิเป็นฐานซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความตั้งใจของตัวผู้เรียน เอาจิตใจจดจ่อกับเรื่องที่เรียนอย่างมีระบบ ต่อเนื่อง ครบวงจร จนเป็นสมาธิต่อกระบวนการเรียนรู้ทั้งการฟัง การคิด การพูด การเขียน อันส่งผลต่อพฤติกรรม โดยสรุปสมาธิทำให้มีสติทุกเวลาในการคิด พูด ทำซึ่งจะทำให้ยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและส่งผลให้ความคิด ความจำของนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์ และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2562). สมาธิกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มีนาคม 2562). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์.

ฐิติวัสส์ สุขป้อม, ณัฏฐกรณ์ ปะพาน, สันทนา วิจิตรเนาวรัตน์, ปิยาภรณ์ เตชะเรืองรอง และอุดม ตะหน่อง. (2562). สมาธิกับจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่14 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2562). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก

รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี - เตรียมชัยศรี. (2561). การปฏิบัติสมาธิ เพื่อการเยียวยาสุขภาพ. จัดพิมพ์โดยกองการแพทย์ทางเลือกกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

ศุภกฤษ ไชยศร. (2564) การเรียนรู้โดยใช้สมาธิเป็นฐาน(Concentration - Based Learnin). โรงเรียนไทยรัฐวิทยา95 (วัดโพธิ์ทองบน).

สุภาพรรณ เพิ่มพูน, อนุชา โสภาคย์วิจิตร์ และณฐภัทร อ่าพันธุ์. (2563). การฝึกสมาธิแนวพุทธเชิงสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชนไทย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม–เมษายน 2563.

Downloads

เผยแพร่เมื่อ

30-09-2021

How to Cite

บริบูรณ์ ส. (2021). สมาธิ: กับการแก้วิกฤตพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(2), 35-50. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/45