การศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
Keywords:
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ภาวะผู้นำ, การบริหารการศึกษาAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 และ (2) ศึกษาเปรียบเทียบภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จําแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 294 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .922 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้สถิติทดสอบค่าเอฟและการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของฟิชเชอร์
ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านความคาดหวังและสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ด้านความคิดเชิงปฏิวัติ ด้านความสามารถในการนําปัจจัยต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ ด้านความคิดความเข้าใจระดับสูง ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (2) ผลการเปรียบเทียบ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จําแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กวีภัทร ชื่นใจ. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.
ซาฝีน้ะ แอหลัง. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ณัฏฐ์ แสงนุสิทธ. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 5(2).
ณัฏฐณิชา สังข์ศิลป์เลิศ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์กับการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
นันทิยา คงเมือง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. วารสารวิชาการ.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13.
นิศรา หงษา. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อการพัฒนาองค์การ:การก้าวเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นําและผู้นําเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศรและวิรัตน์ มณีพฤกษ์. (2564). รูปแบบภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
เยาวรินทร์ ยิ้มรอด. (2559). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาค ตะวันตก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). “ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์” การจัดการสมัยใหม่. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรเชษฐ์ แถวนาชุม. (2560). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(3). กันยายน –ธันวาคม 2564.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). ผู้บริหารโรงเรียนสามมิติ การพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
เหมือนฝัน นันทิยกุล. (2562). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
DuBrin, J. A. (2018). Leadership: Research findings, practice, and skills (8th ed.).Boston: Cengage Learning.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970, September). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement (EPM), 30, 607-610.
Downloads
เผยแพร่เมื่อ
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.