การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 2

Authors

  • พระมหารักษ์ศักดิ์ ปญฺญาวุฑโฒ (บุญชัย)

Keywords:

การบริหารโรงเรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน และที่ตั้งโรงเรียน ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 2 จำนวนทั้งหมด 1,080 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling) ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย One - Way ANOVA

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. การเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ไม่แตกต่างกัน
  2. การเปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 2 จำแนกตามที่ตั้งโรงเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กาญจนา ศิลา. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน (เครือข่ายที่ 19). วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทราวิโรฒ.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563: 9 มิถุนายน). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 แหล่งข้อมูล https://slc.mbu.ac.th/article/28181/การจัดการเรียนรู้ออนไลน์/

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์: ผู้นำในยุค Disruptive. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง. 1(3), 33-44. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 แหล่งข้อมูล https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/53

วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. (2563). รายงานผลการจัดการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2.

OECD. (2019). ‘Does attending a rural school make a difference in how and what you learn?’, PISA in Focus, No. 94, OECD Publishing, Paris. Online. Retrieved on February 1, 2022. From https://doi.org/10.1787/d076ecc3-en, Retrieved April 11, 2019.

Downloads

เผยแพร่เมื่อ

31-03-2022

How to Cite

ปญฺญาวุฑโฒ ร. (2022). การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หนองบัวลำภู เขต 2. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(4), 1-10. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/63