ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย

Authors

  • จารุวรรณ บุญศร นักบริหารท้องถิ่น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย

Keywords:

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, คุณภาพการศึกษา, โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract

                    การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย (2) ศึกษาระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 32 คน ครู จำนวน 292 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 303 คน รวมทั้งหมด 627 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970: 608-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 272 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling) ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสหสัมพันธ์ของ Pearson

            ผลการวิจัยพบว่า

            (1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.33, S.D. = 0.48) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านวิสัยทัศน์ (x̄ = 4.37, S.D. = 0.49) ด้านจินตนาการ (x̄ = 4.35, S.D. = 0.50) ด้านยืดหยุ่น (x̄ = 4.34, S.D. = 0.49) ด้านกระจายอำนาจ (x̄ = 4.31, S.D. = 0.53) และด้านสร้างผู้นำ (x̄ = 4.30, S.D. = 0.49) ตามลำดับ

            (2) คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.45, S.D. = 0.40) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53, S.D. = 0.45) รองลงมาคือ กระบวนการบริหารและการจัดการ (x̄ = 4.42, S.D. = 0.43) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ คุณภาพผู้เรียน (x̄ = 4.40, S.D. = 0.48)

            (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร (X) กับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย (Y) ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์ ในระดับสูง

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2564). ภาวะผู้นําเชิงสรางสรรค: ผู้นําในยุค Disruptive. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 1(3), 33-44. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/53.

จักรกฤษณ์ โพดาพล และสุพรรณี บุญหนัก. (2563). สถิติเพื่อการวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวยก๊อปปี้ บ้านใหม่.

วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

วศิน โกมุท. (2558). การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการเพิ่มโอกาสการศึกษาของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. (สหวิทยาการ). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วินา สุทธิโพธิ์ และจักรกฤษณ์ โพดาพล. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 7(2). (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561), หน้า 99 – 114.

สุชาดา จองคำ. (2560). การจัดทำแผนกลยุทธ์โดยใช้กระบวนการระดมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านเวียงแหง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน.

Downloads

เผยแพร่เมื่อ

31-03-2022

How to Cite

บุญศร จ. (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเลย. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(4), 23-33. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/srj/article/view/65